To honour the disappeared: Somchai Neelapaijit

March 12, 2007

Many of us know the loss of a parent to death. So much history, knowledge and experience is lost to us forever.

Three years ago, in 2004, a respected, honest Muslim human rights lawyer, Somchai Neelapaijit was disappeared. He represented Southern Muslim clients who accused the police of murder. Somchai is not the only disappeared, not the only silenced voice. But Somchai’s abduction has focussed the Thai and international human rights, peace and justice movements.

Thai society is today the victim of a culture of impunity which allows civil servants and government agencies to act outside the law. Thai censorship is illegal and serves to silence voices of question and dissent.

The impunity of government to silence voices of Thai people has resulted in torture, forced confession, disappearance and extrajudicial murder, the ultimate censorship.

Government has deliberately failed to investigate the violations of that most basic of all human rights, the right to life. Government has created a climate of fear in which people are afraid to speak out, to become witnesses for the truth. Who, then, are the real terrorists?

Silencing the South through intimidation and murder frustrates a simple dream of Thai people: self-determination and recognition of their identity. Violence is always the ultimate result of silencing a people’s voice.

Somchai Neelapaijit has become a symbol for justice and his wife, Angkhana, and daughter, Pratabjit, have become tireless human rights advocates. Our thanks and strength to them.


[AFTERWORD. After this article was written, Acting Police Chief, Pol. Gen. Seripisuth Themiyavet, was quoted in Manager Online that “Angkhana should be taught to ‘shut up’ about the case of her husband”.In addition, after he was promoted in February, Pol. Gen. Seripisuth appointed Pol. Gen. Sombat Amornvivat as one of his deputies. Pol. Gen. Sombat is the former director of the Department of Special Investigation under whose personal authority Somchai’s case languished for at least one year. He is alleged to have actively obstructed the case, and was dismissed from his office after the military coup of September 19 for poor performance, and transferred to an inactive post in the justice ministry.

This direct threat from a police general to a wife, mother, activist and National Legislative Assembly member must NOT be permitted by government. Either Seripisuth issues a formal apology to Angkhana and dismisses deputy Sombat, or he must be relieved of his duties.

FACT thinks this brazen abuse of power is shocking and unacceptable. We the people will no longer tolerate this kind of behaviour from government. Shame on you, Seripisuth!]


More news on activities to honour Somchai Neelapaijit can be found on Somchai Award Fund website.

2 Responses to “To honour the disappeared: Somchai Neelapaijit”

  1. bact' Says:

    สมชายอยู่ไหน ? — Where is Somchai ?
    กองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
    http://somchaiaward.wordpress.com/

  2. Pridi Says:

    แถลงการณ์

    ขอให้รัฐบาล และสำนักงานอัยการสูงสุด เร่งดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม เปิดเผยความจริงกรณีการเสียชีวิตของประชาชน ๑๐๘ ศพ วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗

    กรณีเหตุการณ์วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่มัสยิดกรือเซะ จังหวัดปัตตานีและที่อื่นๆ ใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน ๑๐๘ ศพในวันเดียวกัน โดยการวิสามัญฆาตกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้เกิดความเคลือบแคลงใจในหมู่ประชนทั่วไปถึงความถูกต้องชอบธรรมต่อการกระทำดังกล่าว โดยเฉพาะการสังหารประชาชน ๒๘ คนในมัสยิดกรือเซะ และเยาวชนอีก ๑๙ คนที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เพราะการ “วิสามัญฆาตกรรม” จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อเป็นการที่เจ้าหน้าที่ต้องป้องกันชีวิตของตนเอง หรือผู้อื่นให้พ้นจากภยันตราย จากการต่อสู้ของคนร้ายและจะต้องเป็นการกระทำพอสมควรแก่เหตุเท่านั้น กรณีการเสียชีวิตของประชาชน ๑๐๘ ศพจึงเป็นการตายโดยผู้อื่นทำให้ตายโดยเฉพาะเป็นความตายที่เกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่

    ทางคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพได้ร่วมสังเกตการณ์คดีไต่สวนการตาย(วิสามัญฆาตรกรรม) กรณีดังกล่าวมาโดยตลอด โดยได้ร่วมฟังการสืบพยานหลักฐานของทางอัยการซึ่งเป็นผู้ร้อง และญาติของผู้ตายที่เป็นผู้คัดค้าน ในเหตุการณ์ที่สะบ้าย้อยนั้นอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดสงขลาเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๗ ขณะนี้พยานฝ่ายญาติผู้เสียชีวิตได้ร้องขอต่อศาลให้เรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ๔ นายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุมาให้การเป็นพยาน ซึ่งจากหนังสือรับรองการตายระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวน ๘ คนจากจำนวน ๑๙ คนถูกยิงบริเวณศรีษะ หรือใบหน้า และส่วนใหญ่เป็นการยิงจากข้างหลัง ซึ่งการไต่สวนการตายสะบ้าย้อยครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ นี้

    ส่วนกรณีการเสียชีวิตของประชาชน ๓๒ ศพที่มัสยิดกรือเซะอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๗ในคดีหมายเลขดำที่ ช. 4 / 2547 และหมายเลขแดงที่ ช. 3/2549 โดยศาลจังหวัดปัตตานีได้มีคำสั่งลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ว่าผู้เสียชีวิตทั้งหมด ๓๒ คนถูกเจ้าหน้าที่กระทำให้เสียชีวิต โดยมีการปะทะกัน ผู้เสียชีวิตบางคนมีมีด และปืนเป็นอาวุธ ในจำนวนนี้มี ๔ คนเสียชีวิตในเวลา ๐๕.๐๐ บริเวณหน้ามัสยิดกรือเซะ ส่วนอีก ๒๘ คนเสียชีวิตเมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น.ในมัสยิด ซึ่งเป็นการเสียชีวิตเนื่องจากการถูกกระสุนปืนและระเบิดที่อวัยวะสำคัญ ภายใต้คำสั่งการของ พลเอกพัลลภ ปิ่นมณี พันเอกมนัส คงแป้น และพันตรีธนภัทร นาคชัยยะ ซี่งศาลปัตตานีได้ส่งคำสั่งศาลให้อัยการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมตามปกติต่อไป

    แต่จนถึงขณะนี้เป็นเวลา ๑ ปี ๕ เดือน นับแต่ศาลปัตตานีได้มีคำสั่งดังกล่าวแล้วส่งสำนวนการไต่สวนการตายไปยังพนักงานอัยการเพื่อส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ แต่จนบัดนี้ ยังไม่ปรากฎว่าได้มีการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมตามปกติแต่อย่างใด สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดคำถามจากประชาชนทั่วไปมาโดยตลอดถึงความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรม และปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมถึงความโปร่งใสที่ปลอดพ้นจากการแทรกแซงในระบบยุติธรรมของประเทศไทย

    คณะทำงานฯ รู้สึกห่วงใยต่อปัญหาสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดภาคใต้ที่เพิ่มมากขึ้น และประชาชนส่วนใหญ่ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจในตัวเจ้าหน้าที่รัฐมากขึ้น ซึ่งสาเหตุสำคัญประการหนึ่งมาจากความไม่เป็นธรรมที่ยังคงปรากฏอยู่ ทั้งนี้คณะทำงานฯหวังที่จะเห็นกระบวนการยุติธรรมไทยได้ทำหน้าที่ในการให้ความเป็นธรรม และสามารถเป็นที่พึ่งของพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง จึงมีข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

    ๑.ขอให้รัฐบาลยึดมั่นในแนวทางสันติวิธีอย่างจริงจัง เคารพในสิทธิมนุษยชน โดยต้องยุติการส่งสัญญาณใดๆที่จะเป็นเสมือนหนึ่งในการสนับสนุนความรุนแรง เพราะความสูญเสียในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นชีวิตหรือทรัพย์สินของฝ่ายใด คือ ความเจ็บปวดของคนร่วมแผ่นดินจึงไม่ควรนำมากล่าวเปรียบเทียบให้เกิดความแตกแยกในสังคม

    ๒. ขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดเร่งดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ในเหตุการณ์การเสียชีวิตของประชาชนเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ โดยการส่งสำนวนให้พนักงานสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำผิด มาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม บนพื้นฐานของความเป็นอิสระ โปร่งใส และปราศจากการแทรกแซงไม่ว่าจะจากฝ่ายใดๆ โดยต้องระลึกเสมอว่า “ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือความอยุติธรรม”

    ๓.ขอให้รัฐพิจารณาทบทวนการใช้กฏอัยการศึก และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในการควบคุมตัวประชาชน รวมทั้งการไม่อนุญาตให้ญาติเข้าเยี่ยมทันทีหลังการถูกควบคุมตัว อีกทั้งสถานที่ควบคุมตัวหลายแห่งมิได้เป็นไปตามที่กฏหมายบัญญัติ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวจำนวนมาก และบางคนต้องเสียชีวิตจากการลุแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่

    ทั้งนี้เพื่อให้ความยุติธรรมเป็นไปโดยเสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อกระบวนการยุติธรรม เพราะคดีไต่สวนการตายนี้ นอกจากเป็นที่สนใจของประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และประชาคมโลกแล้ว ยังเป็นปมเงื่อนสำคัญของการแก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย


Leave a comment