2012 in review

January 1, 2013

The WordPress.com stats helper monkeys prepared a 2012 annual report for this blog.

Here’s an excerpt:

19,000 people fit into the new Barclays Center to see Jay-Z perform. This blog was viewed about 160,000 times in 2012. If it were a concert at the Barclays Center, it would take about 8 sold-out performances for that many people to see it.

Click here to see the complete report.

เมืองไทย 2555 อะไรรอเราอยู่ ตอน 7: คุยกับซี.เจ. ฮิงกิว่าด้วยเสรีภาพอินเทอร์เน็ตและการเซ็นเซอร์

Prachatai: January 6, 2012

http://prachatai.com/journal/2012/01/38639

ตรวจสอบสถานการณ์เสรีภาพอินเทอร์เน็ตในปี 2555 กับ “ซี.เจ. ฮิงกิ” (C.J. Hinke) ผู้ก่อตั้งกลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ในประเทศไทย (Freedom against Censorship Thailand – FACT) นักเคลื่อนไหวชาวอเมริกันผู้ถูกจับมาแล้วกว่า 30 ครั้งจากการรณรงค์ต่อต้านสงครามเวียดนามในสหรัฐช่วงทศวรรษ 1960 และภายหลังผันตัวมาเป็นนักวิชาการและนักรณรงค์เพื่อขับเคลื่อนเรื่องเสรีภาพในประเทศไทย โดยก่อตั้งกลุ่มรณรงค์ต่อต้านการเซ็นเซอร์ในประเทศไทยเป็นกลุ่มแรก ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่า “FACT” ในปี 2549

ทั้งนี้ ข้อมูลที่รวบรวมโดย “FACT” และโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 รัฐบาลไทยได้บล็อกเว็บไซต์ไปแล้วทั้งหมด 777,286 เว็บเพจ (ข้อมูล ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2554) โดยกระทรวงไอซีทีใช้งบประมาณในการดำเนินการเฉลี่ยวันละ 1.5 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นคิดเป็นราว 950 ล้านบาทในระยะเวลาสองปี อาจกล่าวได้ว่า แต่ละเว็บเพจมีราคา 1,210 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายก็ไม่ได้มาจากที่อื่นใดนอกจากภาษีประชาชน…

ภาพโดย ขวัญระวี วังอุดม

คิดว่าแนวโน้มเรื่องเสรีภาพอินเทอร์เน็ตในปี 2555 จะเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับรอบปีที่ผ่านมา คิดว่าจะดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร

ซี.เจ. ฮิงกิ: เมื่อเราก่อตั้งกลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ในประเทศไทย ในประเทศไทยขึ้นเมื่อปี 2549 การเซ็นเซอร์ไม่ใช่สิ่งที่สังคมไทยกำลังพูดถึงนัก ไม่มีใครถกเถียงในเรื่องนี้เลยแม้แต่ในมหาวิทยาลัย มันค่อนข้างเป็นประเด็นที่ปิดทีเดียวในขณะนั้น ผู้คนยังไม่เห็นว่าการเซ็นเซอร์จะส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขาอย่างไร แต่ทันใดที่เราเริ่มเปิดประเด็นนี้ขึ้นมา มันก็เสมือนว่าเรื่องนี้ถูกอัดอั้นอยู่ในจิตใจประชาชนมานาน เมื่อประตูเขื่อนได้เปิดออกและผู้คนเริ่มพูดคุยเรื่องการเซ็นเซอร์มากขึ้น มันก็กลายเป็นประเด็นร้อนเนื่องจากในเวลานั้นรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารได้สั่งปิดกั้นอินเทอร์เน็ต เพราะอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งอันตรายต่ออำนาจของพวกเขา

อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่เอื้อให้เกิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม และการพูดคุยระหว่างมุมมองต่างๆ ของสาธารณะ ซึ่งรัฐบาลกลัวเรื่องนี้มาก พวกเขากลัวว่าเมื่อเขาอนุญาตให้เราพูดคุยกัน มันจะทำลายฐานอำนาจของรัฐบาลทหาร

หลังจากนั้นไม่นาน รัฐบาลทหารก็บล็อกเว็บไซต์ยูทิวบ์อย่างสมบูรณ์เป็นเวลาเจ็ดเดือน และนั่นก็ทำให้ประชาชนไทยตื่นตัวมากขึ้นในเรื่องการเซ็นเซอร์ ต่อมา หนังสือทางวิชาการว่าด้วยสถาบันกษัตริย์ของพอล แฮนด์ลีย์ “เดอะ คิง เนเวอร์ สไมลส์” (The King Never Smiles) ก็ถูกสั่งแบน ที่มันน่าสนใจเพราะว่าหนังสือดังกล่าวนี้สามารถหาได้ทางออนไลน์อยู่แล้ว และรัฐบาลไทยก็พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อบล็อกหนังสือเล่มนี้ อย่างไรก็ตาม ฉบับแปลภาษาไทยก็ได้กระจายไปทั่วอินเทอร์เน็ต และมันก็ไม่เคยถูกสั่งแบนเลยด้วย ถึงแม้ว่าโจ กอร์ดอน ชาวไทย-อเมริกันจะถูกตัดสินจำคุกเนื่องจากทำลิงค์ไปยังฉบับแปลภาษาไทยก็ตาม

จริงๆ แล้ว กรณีของโจ กอร์ดอนนั้นน่าสนใจมากเพราะนี่เป็นคดีแรกที่ศาลเอาผิดกับตัวกลางในเรื่องพื้นฐานที่สุดเช่นการไฮเปอร์ลิงค์ ในตอนแรก เขาถูกตั้งข้อหาด้วยการกระทำสองอย่าง คือการทำลิงค์ไปยังบทความสามตอนและบทนำของหนังสือ “เดอะ คิง เนเวอร์ สไมลส์” จากบล็อกของเขา และการถูกกล่าวหาว่าเป็นเว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์นปช. ยูเอสเอ ทีนี้ คุณอาจจะจำได้ว่าไม่กี่เดือนก่อนที่โจ กอร์ดอนจะถูกจับ ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล ก็ถูกตัดสินจำคุก 13 ปี ด้วยข้อหาเป็นเว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์ นปช. ยูเอสเอ ฉะนั้น ใครเป็นเว็บมาสเตอร์ตัวจริงกันแน่? จะเป็นไปได้อย่างไรก็ที่คนสองคนถูกตั้งข้อหาเดียวกันในเวลาเดียวกัน มันเป็นเรื่องน่าขันที่สุด

เมื่อโจ กอร์ดอนถูกดำเนินคดี เขากลับไม่ได้ถูกตั้งข้อหาว่าทำลิงค์เชื่อมโยงไปยังเนื้อหาหมิ่นฯ แต่เขาถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนแปล “เดอะ คิง เนเวอร์ สไมลส์” ฉะนั้นนี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจสำหรับผม สมมุติก็ได้ว่า การทำลิงค์ไปยังเนื้อหาหมิ่นฯ เท่ากับการผลิตซ้ำเนื้อหาหมิ่นฯ และมีความผิด ถึงแม้ว่าคนทำจะไม่ได้ผลิตเนื้อหาเองก็ตาม แต่ในการที่จะตัดสินว่ามันผิดจริงหรือไม่ คุณจำเป็นต้องอ่านเนื้อหานั้นก่อนเพื่อที่จะดูว่ามีเนื้อหาหมิ่นจริงหรือเปล่า อยู่ดีๆ คุณจะมาพูดไม่ได้ว่า หนังสือ”เดอะคิง เนเวอร์ สไมลส์” เป็นหนังสือที่ไม่ดี ดังนั้นการทำลิงค์ไปยังหนังสือดังกล่าวเป็นอาชญากรรม มันไม่เป็นเหตุเป็นผลเลยแม้แต่น้อย ท้ายที่สุดแล้วเราจึงเห็นว่า รัฐบาลพยายามจะไขว้เขวให้เราเชื่อในเรื่องผิดๆ โดยที่ไม่ได้มองข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง

หลักนิติรัฐควรเป็นเครื่องจักรที่มีความแม่นยำมาก กฎหมายจำเป็นต้องเที่ยงตรง มิฉะนั้นคุณอาจจะเอาคนบริสุทธิ์เข้าคุกหรือแม้แต่ประหารชีวิต ฉะนั้นกฎหมายจำเป็นต้องเที่ยงตรงอย่างที่สุด และจนกว่าเราจะสามารถไปให้ถึงประชาธิปไตยอย่างแท้จริงที่มีหลักนิติรัฐเป็นสิ่งสูงสุด และรัฐบาลเปิดเผยข้อมูลและโปร่งใสต่อประชาชน เราก็คงยังไม่มีประชาธิปไตย หากให้ผมมองย้อนไปในประวัติศาสตร์ ก็พบว่า ในการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะเข้าสู่ระบอบเผด็จการนั้น มันจะถลำลงไปอย่างรวดเร็ว เช่นในสมัยเขมรแดง ก็เป็นไปภายในสองถึงสามเดือน ระบบเผด็จการในพม่า ก็ราวๆ หกอาทิตย์ หรือการล่มสลายของราชวงศ์ในลาว ก็เพียงสามเดือนเท่านั้น

ฉะนั้น สิ่งที่เราเห็นในตอนนี้ มีความคล้ายคลึงกับการเข้าสู่ระบบเผด็จการของประเทศเพื่อนบ้านของเราเป็นอย่างมาก ซึ่งในขณะนี้เรากำลังเห็นพม่าที่เริ่มจะเปิดประเทศมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีนักโทษการเมืองหลายหมื่นคน และเมื่อเรากลับมามองประเทศไทย เราก็กำลังซ้ำรอยความผิดพลาดแบบเดียวกัน ทั้งอำนาจของกองทัพที่เพิ่มสูงขึ้น ความใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลและกองทัพโดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่นเมื่อรัฐบาลตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ดังนั้น เรากำลังเห็นการพึ่งพาระหว่างรัฐบาลและกองทัพ และยิ่งกองทัพมีอำนาจเพิ่มขึ้นเท่าไร คุณก็ยิ่งเสี่ยงต่อการถูกรวบอำนาจโดยกองทัพ และเสี่ยงต่อการเป็นรัฐทหารมากขึ้นเท่านั้น แต่ผมคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังแทบไม่รู้ตัวในเรื่องนี้เลยด้วยซ้ำ

แสดงว่าสำหรับประเทศไทย ระบอบเผด็จการมีความแนบเนียนกว่าที่อื่น?

ซี.เจ. ฮิงกิ: ใช่ จะว่าอย่างนั้นก็ได้ คือรัฐบาลค่อนข้างระมัดระวังที่จะไม่ทำอะไรให้กระทบกระเทือนต่อกองทัพ และผมคิดว่าการที่กองทัพมีอำนาจและใช้ในทางที่ผิดนี้ ก็เป็นรากฐานของอำนาจของชนชั้นนำด้วย ฉะนั้น ในความเป็นจริง สิ่งที่ถูกมองว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยเฉพาะที่เริ่มมาจากหนังสือ “เดอะ คิง เนเวอร์ สไมลส์” ก็มาจากสาเหตุที่ว่าสถาบันฯ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกองทัพนั่นเอง ความคิดเห็นของผมก็คือว่า ถ้าหากสถาบันฯ ไม่ได้สนิทสนมกับกองทัพขนาดนี้ สถาบันฯ ก็คงจะไม่มีอำนาจสูงเท่าในปัจจุบันและอาจจะไม่สามารถอยู่รอดมาถึงทุกวันนี้ได้ ฉะนั้นในแง่หนึ่งมันก็เป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพากันนั่นเอง

แต่สิ่งที่ทุกรัฐบาลพยายามทำเพื่อปกครองประชาชน ก็คือสร้างความกลัวให้ปกคลุมสังคม ไม่ว่าจะเป็นความกลัวต่อเรื่องการก่อการร้าย สงครามยาเสพติด หรืออะไรก็ตามแต่ พวกเขาพยายามจะทำให้เราเกิดความกลัวเพื่อที่จะควบคุมสาธารณชนได้โดยง่าย ผมคิดว่ามันเริ่มเกิดความเคลื่อนไหวขึ้นมา แต่ไม่ใช่ในแบบที่รัฐบาลกล่าวหา คือ รัฐบาลมักพูดถึงทฤษฎีสมคบคิดที่จะโค่นล้มสถาบันฯ ซึ่งผมคิดว่าไม่จริงเลยแม้แต่น้อย ผมพูดได้เลยว่าคนจำนวนมากที่ผมรู้จัก ที่เป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพในการแสดงออกไม่ได้สนใจจะโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ ความจริงแล้วพวกเราหลายคนกลับเห็นว่าสถาบันฯ กลับเป็นสิ่งที่สร้างเสถียรภาพในสังคมไทย เราไม่เห็นว่ามันจะมีปัญหาอย่างไร เพราะทุกสังคมย่อมควรมีสัญลักษณ์ หรือประมุข ซึ่งประเทศที่ยังคงมีสถาบันกษัตริย์ก็ทำหน้าที่เช่นนั้น ฉะนั้น ผมไม่เห็นว่ามันจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร

ในความเป็นจริง มันไม่มีขบวนการเพื่อที่จะโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ มันไม่มีกระแสที่แรงกล้าเพื่อมุ่งเปลี่ยนประเทศไทยเป็นสาธารณรัฐ ที่จริงแล้ว มันจะมีความแตกต่างแค่ไหนกันเชียวหากเรามีประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรี ผมคิดว่ามันจะไม่มีความแตกต่างใดๆ ทั้งสิ้นต่อการดำเนินไปของสังคมไทยว่าเราจะมีสถาบันกษัตริย์หรือไม่มี อย่างไรก็ตาม สถาบันกษัตริย์ก็เป็นสัญลักษณ์ที่ค่อนข้างมีพลังและอำนาจ ฉะนั้น ผมจึงคิดว่ามันสำคัญมากที่เราได้ทำให้เรื่องการเซ็นเซอร์เป็นประเด็นร้อน และ FACT ก็เป็นองค์กรแรกในประเทศไทยที่นำเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาพูดคุยในฐานะประเด็นหนึ่งของการเซ็นเซอร์

ตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2549 เป็นต้นมา แน่นอนว่าอำนาจของทหารก็มีสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างชัดเจน แต่หลังจากการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมปี 2554 และพรรคเพื่อไทยได้เข้ามาเป็นรัฐบาล คุณคิดว่าเราจะสามารถหลุดพ้นออกจากอำนาจเก่าๆ ได้หรือไม่

ซี.เจ. ฮิงกิ: ตรงนี้ผมเห็นด้วยกับนักอนาธิปัตย์ชาวอเมริกัน เอมมา โกลด์แมน ที่พูดว่า “หากการลงคะแนนโหวตสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้จริง มันคงจะผิดกฎหมายไปแล้ว” ตัวผมเองนั้นไม่มีศรัทธาใดๆ ต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ผมไม่คิดว่าการเลือกตั้งจะเท่ากับประชาธิปไตย แต่การสามารถมีส่วนร่วมของประชาชนต่างหากที่หมายถึงประชาธิปไตย และนั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมรัฐบาลถึงเกรงกลัวอินเทอร์เน็ต เพราะมันเป็นรูปแบบของประชาธิปไตยที่มีส่วนร่วม เพราะอินเทอร์เน็ตทำให้บทสนทนาระหว่างเราสามารถเกิดขึ้นได้

ฉะนั้น ผมคิดว่าสิ่งที่รัฐบาลนี้มีคุณูปการต่อสังคมไทย คือการแยกและโดดเดี่ยวตนเองจากฐานเสียง นั่นคือมวลชนเสื้อแดง เวลาผมพูดว่าผมไม่สนใจในการเมืองแบบเลือกตั้ง ผมก็ไม่มีความสนใจในขบวนการเคลื่อนไหวแบบมวลชนเช่นเดียวกัน ผมคิดว่าทั้งขบวนการเสื้อเหลืองและเสื้อแดง มันอาจจะทำให้ประชาชนรู้สึกดีได้ชั่วครั้งชั่วคราว แต่มันไม่อาจจะทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงได้จริงๆ ผมคิดว่าสิ่งที่ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงได้ คือบทสนทนาและการถกเถียง ฉะนั้นเราจึงควรมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน

แล้วคุณมองว่าแนวโน้มของเสรีภาพอินเทอร์เน็ตในปี 2555 จะเป็นอย่างไร

ซี.เจ. ฮิงกิ: จริงๆ แล้วผมคิดว่ามันจะแย่ลงเรื่อยๆ นะ มันน่าสนใจเพราะว่า ทั้งในรัฐบาลประชาธิปัตย์และรัฐบาลเพื่อไทย เรามีรองนายกรัฐมนตรีที่เป็นนักเลง (Gangster) พวกเขาเป็นนักการเมืองผู้มีอิทธิพลและกว้างขวาง และถ้าคุณสังเกตดู ก็จะเห็นว่าหน้าที่ของพวกเขาก็คือการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต เพื่อไม่ให้เราสามารถพูดคุยกันได้ และตอนนี้รองนายกฯ เฉลิม อยู่บำรุง ก็พูดเรื่องการใช้งบประมาณ 400 ล้านบาทไปกับเทคโนโลยีล่าสุดเพื่อเอาไว้บล็อกเว็บไซต์ต่างประเทศ

สิ่งที FACT ทำในทันที คือการเขียนจดหมายไปหารัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ฮิลลารี คลินตัน และประธานของสหภาพยุโรป เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลต่างประเทศหยุดขายเทคโนโลยีดังกล่าวแก่รัฐบาลไทย เพราะหากพวกเขาเชิดชูเสรีภาพอินเทอร์เน็ต แล้วเขาจะอนุญาตให้ประเทศตะวันตกขายเทคโนโลยีเหล่านี้แก่ไทยเพื่อจำกัดเสรีภาพอินเทอร์เน็ตของเราได้อย่างไร

โดยรวมแล้วผมคิดว่าสถานการณ์จะยิ่งแย่มากขึ้นเรื่อยๆ ผมเห็นสิ่งที่เป็นลาดเลาในบ้านเราที่คล้ายกับสังคมภายใต้การควบคุมอย่างเคร่งครัดในพม่า อาจจะไม่เท่ากับสมัยเขมรแดง แต่ก็คล้ายกับพม่าหลายอย่าง รวมถึงอำนาจของเผด็จการทหารที่มีมากขึ้น

คุณบอกว่าคุณไม่เชื่อในขบวนการเคลื่อนไหวแบบมวลชน แต่เชื่อในบทสนทนาและเสรีภาพในการพูด ทำไม? ช่วยขยายความหน่อยได้ไหม?

ซี.เจ. ฮิงกิ: ผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง ในช่วงที่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เมื่ออำนาจของรัฐบาลในการควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินหมดลงในวันที่ 23 ธันวาคม 2552 มันควรจะยกเลิกการเซ็นเซอร์ทุกอย่างตามกันไปด้วย มันไม่ควรจะมีอะไรถูกเซ็นเซอร์อีกต่อไปแล้วในอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ยังไม่มีเว็บไซต์ใดซักแห่งเดียวที่ถูกยกเลิกการปิดกั้น ฉะนั้น เราจะเห็นว่ามันมาพร้อมกับวาระที่ซ่อนเร้น

ผมคิดว่า พื้นฐานของความคิดที่ก้าวหน้าในสังคมใดๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมันไม่มีการเซ็นเซอร์ หากคุณสามารถพูดอะไรก็ได้ ทุกคำพูดสามารถแสดงออกได้อย่างเสรี มันก็เท่ากับสนับสนุนประชาชนให้ดูถูกหรือเหยียดหยามคนอื่น แต่ถ้าคุณไม่ชอบ คุณก็ไม่ต้องไปมองหรือไปฟังมัน นั่นต่างหากคือการเซ็นเซอร์ที่แท้จริง ถ้าอะไรทำให้คุณโกรธหรือไม่ชอบใจ ถ้าการ์ตูนเกี่ยวกับกษัตริย์ของคุณทำให้คุณไม่ชอบใจ คุณก็แค่ไม่ต้องไปมองมัน แค่นั้นเอง ทำไมคุณจะต้องดิ้นรนในสิ่งที่จะไม่ได้อะไรขึ้นมาด้วย มันไม่มีเหตุผลเลยแม้แต่น้อย

ฉะนั้น ผมอยากจะเห็นเราเริ่มใหม่กันตั้งแต่ศูนย์ และดูว่าสังคมเราจำเป็นจะต้องมีการเซ็นเซอร์ขนาดไหนเพื่อที่จะให้มันทำงานได้ เราอาจจะตัดสินใจว่าเราไม่ต้องการมีการเซ็นเซอร์ใดๆ เลยก็ได้

ดูตัวอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่เชิดชูสิทธิและเสรีภาพในการพูดสิ แน่นอนว่าสหรัฐมีการเซ็นเซอร์ มีการเซ็นเซอร์กระแสหลักในสหรัฐตั้งมากมาย และก็มีการเซ็นเซอร์ในอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวกับหนังโป๊เด็กหรือเรื่องของลิขสิทธิ์ และอื่นๆ อีกมากมาย ที่จริงแล้ว ผมไม่คิดว่ามีสังคมไหนที่ไม่มีการเซ็นเซอร์อยู่เลย แต่ผมคิดว่าสังคมไทยมันมากเกินไปหน่อย ในที่สุดแล้ว รัฐบาลกำลังบอกพวกเราอยู่ว่าเราโง่เกินกว่าที่จะคิดอะไรได้ด้วยตัวเอง ว่าเราต้องมีพี่เลี้ยงเด็กในรูปแบบของรัฐบาล เสมือนว่ารัฐบาลต้องการจะเล่นบทตำรวจที่คอยควบคุมศีลธรรมอันดี หากแต่พวกเขาไม่สมควรจะเป็นตำรวจศีลธรรม พวกเขาไม่ได้มีจิตใจที่สูงส่งไปกว่าพวกเราเท่าไหร่หรอก

แล้วทาง FACT มีข้อเรียกร้องหรือข้อเสนอต่อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างไร

ซี.เจ. ฮิงกิ: ผมเคยพูดแล้วว่า ในประเด็นนี้ พวกเรามีความอ่อนไหวกันเกินไป สิ่งที่คนมักยกขึ้นมาพูดในการถกเถียงเรื่องนี้ คือการบอกว่า “พระมหากษัตริย์คือพ่อของเรา และพระราชินีคือแม่ของเรา” เยี่ยม! โอเค คราวนี้คุณลองมานึกแบบเดียวกันกับพ่อแม่ของคุณเองบ้าง คิดถึงพ่อและแม่ของคุณ ว่าหากมีใครมาดูหมิ่นพ่อและแม่ของคุณเองในหนังสือพิมพ์หรือในอินเทอร์เน็ต คุณจะเอาปืนและมายิงพวกเขาหรือจับพวกเขาเข้าคุกหรือเปล่าล่ะ มันคงจะบ้าที่สุดเลย

ฉะนั้น ข้อแนะนำของผมต่อหลายๆ คนก็คือว่า “อย่าหน้าบางมากเกินไป” อย่าอ่อนไหวเกินไปนักเลย ผมหมายถึงว่า มันก็เป็นแค่คำพูดเท่านั้นเอง เมื่อคุณเห็นวีดีโอในยูทิวบ์ที่ทำล้อเลียนราชวงศ์ มันก็เป็นเค่เรื่องไร้สาระ ทำไมเราต้องคิดว่ามันสำคัญอะไรด้วย พวกเรากำลังให้ค่ามันมากเกินไปหรือเปล่า และผมคิดว่าการที่รัฐบาลปฏิบัติต่อเรื่องนี้มากเกินกว่าเหตุ พวกเขาก็กำลังทำลายสถาบันกษัตริย์ด้วย

ผมได้ยินทฤษฎีสมคบคิดในระยะนี้มาว่า รัฐบาลมีวาระมุมกลับที่พยายามจะทำลายสถาบันกษัตริย์ด้วยการทำให้เราพูดถึงเรื่องกฎหมายหมิ่นฯ มากขึ้น เมื่อคุณมาลองคิดดู มีผู้พิพากษาที่ได้รับการศึกษาสูงๆ ตัดสินจำคุกชายคนหนึ่ง 20 ปี แน่นอนว่าเขาต้องคิดได้ว่ามันต้องมีผลกระทบส่งกลับมาแน่ๆ มันแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจะไม่ได้คิดในแง่นี้ และพิจารณาเรื่องบทลงโทษอย่างเดียว ฉะนั้น ผมฟันธงเลยว่าผู้พิพากษาผู้นั้นต้องมีความผิดด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเช่นเดียวกัน

มันยังทำให้ผมคิดด้วยว่า การวิพากษ์วิจารณ์ศาลที่ถูกนับว่าเป็นการหมิ่นศาลนั้น เป็นเรื่องที่ผิดปรกติอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้พิพากษาก็เป็นคนเหมือนๆ กับเรา ไม่ใช่เทวดาที่ไหน และในความจริงแล้ว มันเป็นบทบาทที่สำคัญของเสรีภาพในการพูดของเราในการกำหนดกลไกทางนิติบัญญัติ ตุลาการ และบริหาร เพื่อที่นักการเมืองจำเป็นต้องปฏิบัติตามในนามของประชาชน และผู้พิพากษาจำต้องปฏิบัติตามประโยชน์ของสาธารณะ

ทาง FACT เรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เช่นเดียวกับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ จริงๆ ในกรณีของ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มันเป็นอะไรที่แตกต่างกันนิดหน่อยเพราะก่อนหน้าที่จะมี พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มันจะต้องมีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคุณจะสามารถบังคับใช้กฎหมายได้ก็ต่อเมื่อมันมีอาชญากรรมให้ได้จัดการ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์เรียกว่าเป็น “อาชญากรรม” นั้น สามารถใช้กฎหมายอาญาที่มีอยู่แล้วจัดการได้ทั้งหมด และทีจริง การเซ็นเซอร์ก็ไม่ใช่วิธีการที่จะแก้ไขปัญหานั้นด้วย

เช่นในกรณีของหนังโป๊ ปัญหาคือไม่ใช่ตัวของหนังโป๊เอง แต่ปัญหาคือการเอาเปรียบผู้หญิง และมันก็มีกฎหมายที่เพียงพอแล้วในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว ฉะนั้น คุณไม่ควรจะมาแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ คุณไม่ควรจะมาพูดว่า “ปัญหานี้เป็นผลมาจากการเอาเปรียบสตรี ดังนั้นมันจึงต้องถูกเซ็นเซอร์” สิ่งที่ควรจะทำ คือการแก้ปัญหาที่การเอารัดเอาเปรียบเสตรี การพนันออนไลน์ หรืออะไรก็ตามแต่ คุณไม่ควรจะมาเริ่มแก้ที่อินเทอร์เน็ต คุณควรจะเริ่มที่ต้นตอของปัญหาในสังคมต่างหาก

คุณจะกล่าวอะไรกับคนที่บอกว่า การเสนอให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เท่ากับการล้มสถาบันกษัตริย์?

ซี.เจ. ฮิงกิ: ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ไร้สาระมาก คือผมคิดว่า การที่ผู้นำคนใดๆ จะอยู่รอด มันขึ้นอยู่กับสามารถของเขาเอง ผมคิดว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองราชย์มากว่า 60 ปี และท่านก็ทรงทำหน้าที่ได้อย่างดีมาก โดยส่วนตัว ผมไม่มีปัญหาอะไรต่อสถาบันกษัตริย์ แต่การบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ที่เข้มงวดมากในตอนนี้ เป็นเพราะพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป และเป็นเพราะการสืบสันตติวงศ์ ฉะนั้น รัฐบาลก็พยายามจะแสดงว่าพวกเขาจงรักภักดีต่อราชวงศ์มาก ด้วยการจับกุมประชาชนและเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต

ในแง่หนึ่ง การถกเถียงเรื่องการเซ็นเซอร์ถูกลดทอนให้เหลือแต่เรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งที่จริงแล้ว มันเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของยอดน้ำแข็งเท่านั้น ผมคิดว่าการที่คนไทยยอมรับว่าการเซ็นเซอร์เป็นสิ่งที่จำเป็นในการปกครองโดยรัฐเป็นเรื่องที่อันตรายมาก

FACT จำแนกการเซ็นเซอร์ที่มีอยู่ในสังคมไทยในแง่มุมต่างๆ ได้เกือบ 60 ชนิด ตั้งแต่การเซ็นเซอร์ในเกม การแต่งกาย ไปจนถึงการเซ็นเซอร์ทางศาสนา วัฒนธรม และสังคม เราเองถูกเซ็นเซอร์อยู่เสมอในทุกระดับ และเราแทบไม่รู้ตัวหรือสังเกตเลยด้วยซ้ำ

ในรอบปีที่ผ่านมา หากคุณต้องให้รางวัลบุคคลแห่งปีในวงการที่ต่อสู้เรื่องเสรีภาพหนึ่งคน คุณจะยกรางวัลนี้ให้แก่ใคร

ซี.เจ. ฮิงกิ: ผมคงจะยกรางวัลนี้ให้กับ ส.ศิวรักษ์ ผมเองใกล้ชิดกับเขาพอสมควร และผมคิดว่าเขาได้ทำอะไรมากมายเพื่อต่อสู้กับผู้มีอำนาจในสังคม คุณไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับสิ่งที่เขาเป็น หรือสิ่งที่เขาพูดทั้งหมด และที่จริงมันไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายหมิ่นฯ เลยแม้แต่น้อย ถึงแม้ว่าเขาจะเคยถูกตั้งข้อหาด้วยกฎหมายนี้มาแล้วหลายครั้ง และถึงแม้หนังสือของเขาจะถูกแบนด้วยกฎหมายหมิ่นฯ มันก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องนั้น แต่มันเกี่ยวกับไอเดียว่าด้วยเรื่อง “พุทธศาสนาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม” (Socially engaged Buddhism) ซึ่งเป็นการทำหน้าที่ต่อสังคมที่มาจากการตระหนักรู้จากมโนสำนึกของตนเอง และผมคิดว่านั่นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือการไม่เกรงกลัวในการทำตามจิตสำนึกที่ถูกต้อง และสามารถกระทำโดยปราศจากความกลัว

นอกจากนี้ ผมยังคิดว่าในปีที่ผ่านมา การขึ้นมาของแกนนำสันติวิธีในกลุ่มเสื้อแดง นับเป็นเหตุการณ์ที่ความสำคัญตั้งแต่การปราบปรามประชาชนที่ราชประสงค์ เช่น การขึ้นมามีบทบาทของสมบัติ บุญงามอนงค์ของกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง ผมคิดว่าเขามีความคล้ายกับ ส.ศิวรักษ์โดยบังเอิญ สำหรับผมแล้ว เมื่อคุณเปรียบเทียบสมบัติกับอริสมันต์ (พงษ์เรืองรอง) คุณจะเห็นว่ามันมีความแตกต่าง โดยเขาเป็นคนที่ยินดีที่จะฟังเสียงของประชาชน รับฟังความต้องการของมวลชน และเคารพสาธารณะ จริงๆ ผมหวังว่าสมบัติจะไม่ลงเลือกตั้งเป็นนักการเมืองนะ เพราะว่ามันจะทำลายสิ่งที่เขาสร้างมา ในความเป็นจริง ผมคิดว่า เขาเป็นผู้นำคนหนึ่งที่มีพลังมากทีเดียว และเป็นบุคคลหนึ่งที่ผมให้การเคารพนับถือ

อีกเหตุการณ์หนึ่งที่น่าจับตา คือการที่สุภิญญา กลางณรงค์ ได้รับเลือกเป็นกรรมการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยทั่วไปแล้ว เมื่อมีใครคนหนึ่งได้รับเลือกเข้าสู่ตำแหน่งเช่นนั้น เขาอาจจะเลือกที่จะสมยอม เหลิงอำนาจ หรือทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจจากภายในองค์กร เพื่อสนับสนุนให้เกิดเสรีภาพในการแสดงออก และผมก็หวังว่าเธอจะทำเช่นนั้น ผมรู้ว่าสุภิญญาได้รับข้อวิพากษ์วิจารณ์จากนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิและเสรีภาพพอสมควร แต่ผมเองสนับสนุนเธอเต็มที่ในหน้าที่การทำงาน เมื่อมีใครสักคนที่ตระหนักถึงคุณค่าในเสรีภาพการแสดงออก และอยู่ในตำแหน่งที่มีอิทธิพลเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง และสามารถทำให้คนอื่นๆ ในกลุ่มข้าราชการและนักการเมืองตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว มันก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะผมเชื่อว่าพวกเขาไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้เลยด้วยซ้ำ

Read for yourself why FACT wears black

SOPA: http://en.wikipedia.org/wiki/Stop_Online_Piracy_Act

PIPA: http://en.wikipedia.org/wiki/PROTECT_IP_Act

Here’s why: http://boingboing.net/2012/01/14/boing-boing-will-go-dark-on-ja.html

WE’RE ALL IN THIS TOGETHER. IT’S OUR INTERNET!

Mafia hit suspect cuffed after BlackBerry chatter intercept

Cops keep schtum on sniffing RIM data

Bill Ray

The Register: January 6, 2012

http://www.theregister.co.uk/2012/01/06/blackberry_mafia_rim/

 

Canadian police have apparently used BlackBerry communications to arrest murder suspect Raynald Desjardins in a move seen as an unprecedented use of intercepted data.

However, it is unclear whether or not the data was really intercepted or whether it was provided to cops via wiretap warrants.

The cuffed bloke has been charged with the murder of Salvatore Montagna, who was killed in November last year and was heavily involved in the New York criminal fraternity according to the Global Montreal. The raid involved searching 14 locations and the arrest of three other suspects, but it’s the interception of BlackBerry data that has attracted most attention.

RIM is making the usual noises about respecting users’ privacy and working with law enforcement, but anyone familiar with how RIM’s network operates shouldn’t be surprised by the abilities of prying detectives.

The Canadian police seized at least one BlackBerry during the raid, and once one has possession of the handset then extracting the onboard data is relatively easy, especially if the plod remember not to turn it off, and secure it in a radio-proof bag, as they’re supposed to.

But the Canadians probably had access to the communications before they got the handset. RIM’s architecture only secures email communications when routed through a privately-owned BlackBerry Enterprise Server (BES). We don’t know if this lot were routing things though their own server, but if not then everything would be routed though RIM’s own servers which are open to lawful intercept like any telecommunications hub.

But it is BlackBerry’s instant messaging service (BBM) that most people seem to (inappropriately) trust, and which is alluded to in the report.

BBM is indeed encrypted end-to-end, so should be resistant to intercept, if it weren’t for the fact that it relies on a single, shared, secret which is embedded in every BlackBerry device. That secret is also know to RIM, which can (be obliged to) decrypt traffic just like everyone else.

These days everyone from London rioters to New York Mafiosi should know that electronic communications is rarely secure from court-backed eavesdropping, but perhaps it’s better they don’t.

Canadian coppers told the AFP they would not confirm whether they had cracked BlackBerry’s encryption or whether RIM had given them access to its secure servers. The prosecutor in the case was reported by La Presse as saying (French) that he would “advocate for preventing the disclosure of wiretap warrants” and refuse questions from defence attorneys on the subject.

Kryptos Artist to Reveal Rare Clue to Baffling CIA Sculpture

Kryptos sleuths may finally get some help cracking the CIA sculpture that has confounded amateur and professional cryptographers for two decades.

Artist Jim Sanborn, who created the cypher sculpture in 1990 for CIA headquarters in Langley, Virginia, plans to release a new clue to help puzzle detectives solve the last 97 characters of his masterpiece. The new clue is to be revealed in a New York Times article this weekend, to mark the 20th anniversary of the sculpture, which was dedicated Nov. 3, 1990.

It will be the first clue Sanborn has revealed in four years, after he corrected a typo in his sculpture in 2006 to keep crypto detectives from being derailed in their search for solutions.

Sanborn wouldn’t disclose the clue to Threat Level but said only cryptically that it will “globalize” the sculpture. Asked if this meant it would take the sculpture off the CIA grounds and out of the United States, he conceded it would.

“I personally think it’s a significant clue,” he said. “I’m throwing it out there. It just makes that many fewer characters people have to figure out.”

Sanborn said he’d been thinking about revealing a clue for a long time but couldn’t decide on the right occasion until the 20th anniversary and his birthday coincided in the same month.

“I don’t have that many decades … left in me,” the 65-year-old artist said.

The 12-foot-high, verdigrised copper, granite and wood sculpture is inscribed with four encrypted messages, three of which have been solved. The sculpture’s theme is intelligence gathering (Kryptos is Greek for “hidden”).

It features a large block of petrified wood standing upright, with a tall copper plate scrolling out of the wood like a sheet of paper. At the sculpture’s base is a round pool with fountain pump that sends water in a circular motion around the pool. Carved out of the copper plate are approximately 1,800 letters, some of them forming a table based on an encryption method developed in the 16th century by a Frenchman named Blaise de Vigenere.

Sanborn sells replicas of the sculpture for $150 at the International Spy Museum in Washington, D.C., and other locations (see photo below of prototype taken at Sanborn’s home in 2006).

In 1998, CIA analyst David Stein cracked three of the four messages using paper and pencil and about 400 lunch-time hours. Only his CIA colleagues knew of his success, however, because the agency didn’t publicize it. A year later, California computer scientist Jim Gillogly gained public notoriety when he cracked the same three messages using a Pentium II.

The first section is a poetic phrase that Sanborn composed. The second hints at something buried: “Does Langley know about this? They should: It’s buried out there somewhere.” The third section comes from archaeologist Howard Carter’s diary describing the opening of a door in King Tut’s tomb on Nov. 26, 1922.

But for 20 years, the fourth section of the puzzle, consisting of 97 characters, has remained unsolved. The clue Sanborn spills this week may help untangle the message, but won’t necessarily solve the puzzle.

“It doesn’t mean you’re going to understand it or it will be completely laid out before you,” he said. “It will not be plain as day, ever.”

This is because the text hides a riddle, which Sanborn has said requires sleuths to be on the CIA grounds to solve it.

“In part of the code that’s been deciphered, I refer to an act that took place when I was at the agency and a location that’s on the ground of the agency,” Sanborn said during a 2005 interview with Wired.com. “So in order to find that place, you have to decipher the piece and then go to the agency and find that place.”

The riddle may refer to something Sanborn buried on the CIA grounds at the time he installed the sculpture. Decrypted parts of the sculpture give latitude and longitude coordinates (38 57 6.5 N, 77 8 44 W), which Sanborn has said refer to “locations of the agency.”

The full cryptographic code from all four sections of the Kryptos sculpture. [Elonka Dunin]

Only two other people were said to know the solution to Kryptos. CIA cryptographer Ed Scheidt helped Sanborn choose and alter the coding techniques for the sculpture. And former CIA director William Webster received a sealed envelope containing the solution at the sculpture’s dedication. In 2005, Sanborn revealed to Wired.com that a decrypted line in the sculpture referred to Webster: “Who knows the exact location? Only WW.” But Sanborn also said at the time that Scheidt, now a retired chairman of the CIA’s Cryptographic Center, and Webster only thought they knew the solution.

“Well, you know, I wasn’t completely truthful with [Webster],” Sanborn said. “And I’m sure he realizes that. I mean that’s part of trade craft, isn’t it? Deception is everywhere…. I definitely didn’t give him the last section, which has never been deciphered.”

The encrypted sections include intentional spelling errors and misaligned characters set higher on a line of text than characters around them. But in 2006, Sanborn realized the sculpture contained an inadvertent error, a missing “x” that he mistakenly deleted from the end of a line in section two, a section that was already solved. He discovered the omission while doing a letter-by-letter comparison of the plain text and coded text in preparation for a book about the life of the sculpture.

The “x” was supposed to signify a period or section-break at the end of a phrase. Sanborn removed it for aesthetic reasons, thinking it wouldn’t affect the way the puzzle was deciphered. In fact it did. What sleuths had until then deciphered to say “ID by rows” was actually supposed to say “layer two.” The correction hasn’t helped anyone solve the rest of the puzzle, however, in the subsequent four years.

In conjunction with the new clue release, Sanborn is launching a website for the sculpture to provide an automated way for people to contact him with their proposed solutions to the puzzle. Over the years, numerous people who were convinced that they’d solved the final puzzle section have contacted him. One woman even showed up at his secluded home on an island.

Most of the solutions people have offered have been wildly off-base. Sanborn says that with the launch of his new site, anyone who thinks they’ve solved the last section will have to submit what they believe are the first 10 characters of the final 97 before he will respond.

Sanborn has produced a number of other cypher sculptures, in addition to Kryptos. But his most recent work has focused on recreating the 1939 experiment at the Carnegie Institution of Washington that resulted in the first fission of uranium using a particle accelerator. His working accelerator can be seen at the Museum of Contemporary Art in Denver, Colorado.

 

Freedom Against Censorship Thailand (FACT) was founded on November 15, 2006 on the basis of a petition against Internet censorship which was presented to Thailand’s National Human Rights Commission and later to the Official Information Commission under a military coup government. The NHRC was disbanded by the coup and government officials refused illegally to cooperate with the OIC.

FACT has never deviated from its opposition to all censorship in Thailand and everywhere else. FACT’s original petition is now largely of historical interest.

FACT’s working group has now prepared a Mission Statement, our statement of principles and purpose to replace our original petition.

FACT now has more than 1,500 signers. If you have signed FACT’s petition, there is no need for you to sign again. However, if you have not signed, we urge you to sign FACT’s petition, and ask your friends, family and colleagues to sign. FACT’s petition is open to all.

For your signature to be counted, you must sign your FULL NAME in Thai and English, your affiliation, your location and your email address for verification.

FACT’s petition is hosted on FACTsite, with the Asian Human Rights Commission and at Change.org.

Please join us if you believe in FREEDOM. You have nothing to lose but your fear…and your chains.

Say NO to censorship!

These rights are universal: freedom of speech; freedom of expression; freedom of communication, including the Internet; freedom of association, including virtual association; media freedom, including the blogosphere; academic freedom, including digital learning; freedom of opinion; freedom of thought; freedom of ideas. A free Internet is our fundamental human right. Free expression is not a crime.

FACT supports all media, including the Internet, free of interference or regulation as the best means of participatory democracy possible. Every person deserves an equal voice and has a right to privacy and anonymity. These are our basic liberties.

FACT believes in transparent, accountable and democratic government. All people deserve freedom from fear.

We have the fundamental human right to unrestricted knowledge, knowledge without borders, boundaries, limits. A fully-informed public with access to all opinions is an asset to both our national and the international community. Education, knowledge and information are never a threat to national security.

Censorship in Thailand conceals a hidden political agenda used to repress dissent. Censorship reinforces social, class, gender, religigious and economic divisions which, suppressed, are root causes of violence in Thai society.

Abduction, kidnap, torture, forced confessions, disappearance, extrajudicial murder, the death penalty, are the ultimate censorship. We support reconciliation in the human community.

FACT celebrates human diversity: all views share equal validity, if only for one person. Open minds, open hearts.

FACT believes most human beings choose good over evil. We believe applying community and family standards to Thai society will result in personal responsibility, the full development of our children and a truly free society.

Censorship is a clear violation of our fundamental human rights, civil liberties and basic freedoms.

NO COMPROMISE: Stop censorship NOW!

The state of Internet in Thailand:

Thai Govt’ blocks CNN, Yahoo finance, Facebook, Flickr and other American sites, Thai Immigration website reported as attack site

ThaiVisa: December 14, 2009

http://www.thaivisa.com/forum/Thai-Govt-Blocks-CNN-Yahoo-Financ-t321851.html

Thai Immigration website is reported as an attack site by Google and FireFox. Thaivisa has several times tried to contact with the IT section of the Immigration Bureau, but to no avail.

Internet access in Thailand is not always easy, and can be dangerous as well.

Last week the Bangkok post website was listed as an attack site by Google and Fire Fox. Recently the website of Thailand Immigration Bureau was found being reported as an “attack site”.

Of their 1376 pages Google tested on the Thai Immigartion site over the past 90 days, 133 pages resulted in malicious software being downloaded and installed without user consent. The last time Google visited this site was on 2009-12-13, and the last time suspicious content was found on the site was on 2009-12-12.

Malicious software on the Thai Immigration website includes 49 exploits, 40 scripting exploits and 32 Trojans, according to Google and FireFox.

MICT blocking CNN, Facebook, Yahoo, Flickr for some users/ISP’s

On another note, The Ministry of Information and Communication Technology is today blocking websites hosted in USA.

Example of blocked sites as of this morning: edition.cnn.com, facebook.com, finance.yahoo.com, flickr.com

MICT is redirecting the blocked traffic to their website http://mict.go.th, and instead showing a portrait of HM the King of Thailand together with well wishes for His Majesty’s birthday.

Depending on the ISP some users do not face the reported problems. Discussion here: Internet forum branch

Using proxy servers and trying to circumvent government blocked websites is a criminal offense in Thailand.

FACT ต้องการความช่วยเหลือจากคุณ รับสมัครอาสาสมัครเปี่ยมแรงดลใจ

กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT) เป็นเครือข่ายนักกิจกรรมที่รณรงค์ต่อต้านการเซ็นเซอร์ในประเทศไทยตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2549

จุดยืนของเราคือไม่ยอมรับการเซ็นเซอร์ทุกรูปแบบ และเราจะไม่ประนีประนอมใดๆ ทั้งสิ้น คำว่าไม่ของเราคือไม่!

FACT เป็นกลุ่มเดียวที่รวบรวมประเด็นเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์จากทั่วทุกมุมโลก เรารายงานและนำเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการเซ็นเซอร์ในทุกประเทศ จากมุมมองของประเทศไทย และแน่นอน รายงานประเด็นการเซ็นเซอร์ในประเทศไทยที่มีมากมายด้วย

เราไม่มีวาระทางการเมือง เราเชื่อว่าทุกคนมีสิทธิที่จะแสดงออก เราเชื่อว่าสาธารณชนที่ได้รับข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์จำเป็นจะต้องเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดก่อนที่จะตัดสินใจสำหรับประเทศของเราอย่างรับผิดชอบได้ เราต่อต้านเพียงการเซ็นเซอร์ทุกรูปแบบ

FACT เป็นองค์กรต่อต้านที่มุ่งพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ประเด็นเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์บางประเด็นที่เราโพสและเสนอข้อคิดเห็นเป็นเรื่องของการปิดกั้นเสรีภาพทางวิชาการ การแบนหนังสือ โทษประหารและโทษจำคุก การเซ็นเซอร์ผ่านกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายคอมพิวเตอร์ การแชร์ไฟล์ ยาเสพติดผิดกฎหมายและสงครามต่อต้านยาเสพติด การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์และศิลปกรรม กฎหมายเสรีภาพข้อมูล อาหารดัดแปลงพันธุกรรม การเซ็นเซอร์เกมและของเล่น การเซ็นเซอร์ประเด็นเกย์และเพศสภาพ กฎอัยการศึกและความมั่นคงภายใน การเซ็นเซอร์ดนตรี ปัตตานีและองค์กรที่ถูกแบน การลุแก่อำนาจของตำรวจ เนื้อหาลามกอนาจาร เซ็กซ์และโสเภณี การเหยียดผิว ชนกลุ่มน้อยและผู้อพยพ การเซ็นเซอร์วิทยุ ศาสนา การเซ็นเซอร์การฆ่าตัวตายและการทำแท้ง สังคมสอดส่องทุกฝีก้าว การเซ็นเซอร์โทรทัศน์ สงครามและอาวุธ

FACT ต้องการอาสาสมัครที่ลงนามหรือยินดีลงนามในแถลงการณ์ของเราที่ต่อต้านการเซ็นเซอร์ทุกรูปแบบ  – https://facthai.wordpress.com/sign

เนื่องจากเรารายงานประเด็นการเซ็นเซอร์ต่างประเทศเป็นภาษาอังกฤษ เราจึงต้องเพิ่มจำนวนโพสที่เป็นภาษาไทย
FACT ต้องการอาสาสมัครที่อ่านข่าวภาษาไทยเป็นประจำ ไม่ว่าจะอ่านสื่อกระแสหลัก สื่อทางเลือกหรือออนไลน์ ผู้ยินดีอุทิศเวลาให้กับการโพสและเขียนข้อคิดเห็นลงบนเว็บไซต์ของ FACT เป็นภาษาไทย

นอกจากนี้ การรายงานข่าวและการแถลงข่าวเพื่อเผยแพร่ของ FACT ส่วนใหญ่ก็เป็นภาษาอังกฤษ เราต้องการอาสาสมัครที่สามารถแปลงานของเราจากอังกฤษเป็นไทย และแปลประเด็นประเทศไทยจากไทยเป็นอังกฤษเป็นครั้งคราว สำหรับผู้อ่านชาวต่างชาติของเรา

ปัจจุบัน FACT มีผู้อ่านกว่า 600,000 คน คุณจะไม่มาร่วมกับเราหรือ?


FACT needs your help – a call for motivated volunteers

Freedom Against Censorship Thailand (FACT) is a network of activists campaigning against censorship since November 15, 2006.

We stand for NO censorship, NO compromise! Read that again: NO means NO!

FACT is the only international news aggregator of censorship issues worldwide. We report and comment on censorship issues in every country from a Thai perspective and, of course, report on the many Thai censorship issues.

We have no political agenda. We believe that everyone has a right to be heard. we believe a fully-informed public must have access to all information in order to make responsible decisions for our country. Our only issue is censorship in its many forms.

FACT is a radical resistance organisation dedicated to human rights. Some of the censorship issues we have posted and commented upon are academic censorship; book censorship; capital punishment and prisons; censorship by copyright, and file-sharing; cybercrime law; data retention and deep packet inspection; defamation and libel; illegal drugs and drug wars; film and fine art censorship; freedom of information law; genetically-modified foods; game and toy censorship; gay and gender censorship; globalisation and free trade; jihadi censorship; lese majeste law; martial law and internal security; music censorship; Patani and banned organisations; police impunity; pornography, sex and prostitution; racism, minorities and refugees; radio censorship; religion; suicide and abortion censorship; the surveillance society; TV censorship; war and weapons.

FACT needs volunteers who have signed or are willing to sign FACT’s petition against all censorship: https://facthai.wordpress.com/sign

Because international censorship issues are reported in English, we need to expand our Thai language postings.

FACT needs volunteers who regularly read a wide variety of Thai news, mainstream, alternative and Web-based, who will post and comment to FACTsite in Thai.

Most of the original reporting and press releases FACT creates are in English. FACT need volunteers who can translate our output from English to Thai and occasionally translate Thai issues from Thai to English for our international readership.

FACT has reached more than 600,000 readers. Won’t you join us?

[FACT comments: FACT wants Thailand’s Computer-Related Crimes Act repealed, pure and simple. It is a repressive law outlawing freedom of expression passed by a military puppet legislature. The CCA is too broken to be amended; let’s start over. However, know thy enemy is good advice so plan to attend.]

 

สำหรับเผยแพร่  (ENGLISH FOLLOWS)

 

เครือข่ายพลเมืองเน็ต ด้วยการสนับสนุนจาก Media Legal Defense Initiative (MLDI) และ Electronic Frontier Foundation (EFF) 

ขอเชิญร่วมสัมมนา เรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์: มุมมองจากสากลและหลักปฏิบัติ

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม 2552 โรงแรมโนโวเทล ห้องโมเน่ต์พิซซาโร่ ชั้น 4

09.00 – 11.00 . บรรยายกฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์: มุมมองจากสากลและหลักปฏิบัติ

  • ภาพรวมกฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จากทั่วโลกโดย Eddan Katz ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการต่างประเทศ EFF
  • การ วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศและในประเทศไทยโดย ทศพล ทรรศนกุลพันธุ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มุมมองจากเจ้าหน้าที่รัฐโดย ตัวแทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ กระทรวงยุติธรรม*

11.00 – 11.30 . พัก

11.30 – 12.30 . ถามตอบ ดำเนินโดย สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต

12.30 – 13.30 . อาหารกลางวัน

13.30 – 15.00 . อภิปรายเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก: ก้าวหน้าหรือถดถอยร่วมอภิปรายโดย

  • Danny O’Brien ผู้ประสานงานนานาชาติ EFF,
  •  ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
  •  สฤณี อาชวานันทกุล กรรมการเครือข่ายฯ

15.00 – 16.30 . อภิปราย ดำเนินโดย อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ที่ปรึกษาฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ SIU

16.35 . แถลงข่าวข้อเสนอต่อการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ .. 2550” โดย คณะกรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต 

*วิทยากรอยู่ในระหว่างการติดต่อ

เนื่องจากที่นั่งมีจำนวนจำกัด ขอความกรุณาท่านที่สนใจ ลงทะเบียนในกล่องด้านล่างภายในคืนวันที่ 23 กรกฎาคม 2552

 

www.thainetizen.org 

 

 

[THAI ABOVE]

Thai Netizen Network with support from Media Legal Defense Initiative (MLDI) and Electronic Frontier Foundation (EFF) would like to invite you to a seminar on

Cyber-Crime laws: Global perspectives and Legal practice

Monday 27 July 2009 at Monet & Pissarro room, 4th floor, Novotel Hotel, Siam Square, Bangkok

09.00 – 11.00 Public lecture “Cyber-crime laws: Global perspective and Thai’s legal practice.”

  • Overview on global perspectives on cyber-crime laws by Eddan Katz, Electronic Frontiers Foundation www.eff.org
  • Comparative analysis of cyber-crime laws: Global and Thai practice by Tossapol Tassanakulpan, Faculty of Law, Chiangmai University
  • Perspective from Thai authority by the representative from the Ministry of ICT or Ministry of Justice*

11.00 – 11.30 Break

11.30 – 12.30 Q&A, discussed and moderated by Supinya Klangnarong, Thai Netizen Network

12.30 – 13.30 Lunch

13.30 – 15.00 Panel discussion “Internet freedom worldwide: moving forward or backward?”

  • Danny O’Brien, EFF’s international outreach coordinator, 
  • Assist. Prof. Pirongrong Ramasoota Rananand, Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University, and
  •  Sarinee Achavanuntakul, Thai Netizen Network

15.00 – 16.30 Discussion, moderated by Isriya Paireepairit, Siam Intelligence Unit

16.35 Press conference on the proposal for Computer-related Crime Act 2007 by Thai Netizen Network committee

* Speaker awaiting confirmation

%d bloggers like this: