เพื่อเสรีภาพของภาพยนตร์ไทย No Cut Petition

April 14, 2007

[in English: Free Thai Cinema Movement]

จากกรณีเซ็นเซอร์และยึดฟิลม์ภาพยนตร์เรื่อง “แสงศตวรรษ”
กลุ่มผู้ไม่เห็นด้วย ได้รวมตัวกันเรียกร้องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นผ่านทางสื่อภาพยนตร์ และทำหนังสือเรียกร้องถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติและรัฐบาลไทย
คุณสามารถร่วมลงชื่อได้ที่ http://www.petitiononline.com/nocut/petition.html


To: The National Legislative Assembly and The Thai Governmentจากกรณีที่ภาพยนตร์เรื่องแสงศตวรรษ ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ โดยคณะกรรมการมีเงื่อนไขให้ฉายหนังเรื่องนี้ได้ก็ต่อเมื่อต้องตัดภาพยนตร์ ออกไป 4 จุด ทำให้ผู้กำกับอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ได้ตัดสินใจยุติการนำภาพยนตร์นี้ออกฉายตามโรงภาพยนตร์ในประเทศไทยไปแล้ว เพื่อแสดงจุดยืนว่าไม่ยินดีที่จะให้เจ้าพนักงานตัดภาพยนตร์ออก 4 จุดดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า“ในฐานะนักทำหนังคนหนึ่ง ผมปฏิบัติกับหนังของผมประดุจลูกชายและลูกสาว เมื่อผมให้กำเนิดเขา พวกเขาก็มีชีวิตเป็นของตนเอง ผมไม่ใส่ใจว่าผู้คนจะรักหรือเกลียดลูกของผม ตราบใดที่ผมสร้างเขาขึ้นมาด้วยฉันทาและวิริยะอย่างสูงสุดแล้ว ถ้าลูกๆ ของผมไม่สามารถอาศัยอยู่ในประเทศของเขาเองไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอันใดก็ตาม ก็ปล่อยเขาเป็นอิสระเถิด เพราะมันยังมีพื้นที่อื่นๆ ที่ต้อนรับเขาอย่างอบอุ่นในแบบอย่างที่เขาเป็น มันไม่มีเหตุผลใดเลยที่ต้องทำให้พวกเขาพิกลพิการจากการหวั่นหวาดต่อระบบ หรือจากความละโมบ มิฉะนั้นแล้วมันก็ไม่มีเหตุผลอันใดที่คนสักคนหนึ่งจะสร้างงานศิลปะต่อไป”

ต่อมา ผู้แทนของอภิชาติพงศ์ได้ติดต่อขอรับฟิล์มภาพยนตร์คืนจากเจ้าพนักงานผู้ตรวจ พิจารณาภาพยนตร์ โดยทำจดหมายเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งแก่คณะกรรมการตรวจพิจารณาว่า ขอถอนการยื่นขอรับการตรวจพิจารณาเพื่อฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ และยืนยันว่าจะไม่มีการยื่นอุทธรณ์อีกเนื่องจากไม่ต้องการนำออกฉายตามโรง ภาพยนตร์เพื่อการค้าอีกต่อไป แต่เจ้าพนักงาน ไม่อาจคืนฟิล์มภาพยนตร์ให้แก่ผู้แทนในสภาพเดิม โดยชี้แจงว่า จะคืนให้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงาน ได้นำฟิล์มภาพยนตร์ไปตัดภาพทั้ง 4 จุดออกเพื่อยึดไว้เสียก่อน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://a-century.exteen.com)

เหตุกรณีของภาพยนตร์ แสงศตวรรษ นี้ ได้ก่อให้เกิดการแสดงความคิดเห็นสาธารณะในสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่ออินเตอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ไปในทางไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงก้าวร้าวต่อระบบการตรวจ พิจารณาภาพยนตร์ที่เป็นอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบที่รัฐใช้อำนาจทางปกครองจำกัดสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของประชาชน โดยพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. 2473 ซึ่งอำนาจรัฐไทยตราขึ้นใช้ตั้งแต่ปีดังกล่าว อันเป็นสมัยที่ประเทศยังปกครองในระบอบราชาธิปไตย

น่าประหลาดใจว่า การกำจัดเสรีภาพของภาพยนตร์ในประเทศไทย สามารถยืนยงต่อเนื่องยาวนานสืบมาจนปัจจุบัน แม้ว่าในระยะสามสิบปีมานี้ ได้มีความพยายามของผู้คนในวงการภาพยนตร์ เรียกร้องให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติภาพยนตร์ฉบับดังกล่าว ซึ่งไม่สอดคล้องกับสังคมประชาธิปไตย หลายยกหลายวาระ แต่ก็ยังไม่เคยสำเร็จเป็นจริง

เราเห็นว่า กรณีของ แสงศตวรรษ ซึ่งอุบัติขึ้นในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งประเทศกำลังมีกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรใหม่อีกครั้งหนึ่ง จึงควรเป็นโอกาสที่เรา ประชาชนไทยร่วมกับคนในวงการภาพยนตร์ไทยและผู้รักภาพยนตร์ทั่วโลก จะเรียกร้องทวงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นผ่านทางสื่อภาพยนตร์ ซึ่งเป็นสื่อเพียงอย่างเดียวที่ยังถูกรัดรึงด้วยโซ่ตรวนของอำนาจรัฐที่ไม่ เป็นประชาธิปไตย

เราทั้งหลายผู้ลงนาม ในนามแห่งเจ้าของสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ใน ระบอบประชาธิปไตย ขอเรียกร้องต่อคณะสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้โปรดบัญญัติให้ภาพยนตร์เป็นสื่อสารมวลชนอย่างหนึ่ง ซึ่งพึงปลอดจากการแทรกแซงและจำกัดสิทธิเสรีภาพจากอำนาจรัฐ ดุจเดียวกับสื่อสารมวลชนอื่น ๆ ทั้งหลาย เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งล้วนได้รับการปลดโซ่ตรวนแล้วทั้งสิ้น

ทั้งนี้เพื่อให้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และพระราชบัญญัติเทปและ วัสดูโทรทัศน์ที่ล้าหลังตกเป็นโมฆะ และเพื่อให้เราสามารถสถาปนาระเบียบการพิจารณาภาพยนตร์ใหม่ในระบบการแบ่ง ประเภทผู้ชมอันเป็นทางเลือกที่สอดคล้องกับหลักสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานใน สังคมประชาธิปไตย

Sincerely,

The Undersigned


ร่วมลงนามได้ที่: http://www.petitiononline.com/nocut/petition.html

One Response to “เพื่อเสรีภาพของภาพยนตร์ไทย No Cut Petition”


  1. […] April 16th, 2007 [ภาษาไทย: เพื่อเสรีภาพของภาพยนตร์ไทย] […]


Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: