คำร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

November 22, 2006

[In English: A Petition to the Human Rights Commission of Thailand]

คำร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ทางกลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย ได้ยื่นต่อประธานคณะอนุกรรมการสิทธิในการสื่อสารและเสรีภาพสื่อมวลชน ผศ. จรัล ดิษฐาอภิชัย เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2549 ที่ผ่านมา

หากคุณเห็นด้วยกับคำร้องนี้ — สามารถร่วมลงชื่อสนับสนุนได้


คำร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดตั้งขึ้นในปี 2546

ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่ทางกระทรวงฯ เปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณชน ทางกระทรวงฯ ได้ทำการใช้อำนาจรัฐในการปิดเว็บไซต์ ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม มีภาพลามกหรือข้อมูลที่ผิดกฎหมาย โดยในเดือนมกราคม 2547 ทางกระทรวงได้ทำการปิดเว็บไซต์ถึง 1,247 แห่ง โดยยูอาร์แอล (URL – Uniform Record Locator) หรือหมายเลขไอพี (IP – Internet Protocol)

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไม่มีความสามารถทางเทคนิคในการที่จะไปปิดกั้นการเข้าสู่เว็บไซต์ ดังนั้นวิธีการที่ทางกระทรวงฯ ทำคือ การส่งจดหมายเวียนอย่างไม่เป็นทางการไปตามผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ของไทยและหน่วยงานเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

โดยภายใต้ใบอนุญาตการประกอบกิจการของไอเอสพี ที่ออกโดยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม ไอเอสพีจะต้องทำตามที่กระทรวงร้องขอ โดยมีมาตรการลงโทษในการไม่ปฏิบัติตามที่ร้องขอคือ การจำกัดแบนด์วิธ (ความกว้างของช่องข้อมูล) ซึ่งส่งผลสู่การจำกัดรายได้ของไอเอสพี หรืออาจจะถูกยกเลิกใบอนุญาต

การสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลเรื่อง การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของไทยกับโลกภายนอก ก็ดูเหมือนว่าจะเข้าร่วมมือการปิดกั้นการเข้าสู่เว็บไซต์ รวมทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย อย่างไรก็ดีเนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ไม่มีการเปิดเผยแต่อย่างใด ทำให้เราไม่แน่ใจนักในเรื่องกระบวนการ

ถึงแม้ว่าทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะได้ให้ข่าวในบทความ ThaiDay ในหนังสือพิมพ์ The International Herald Tribune เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2549 ว่าทางกระทรวงฯ มีแผนที่จะปิดเว็บไซต์เพิ่มเติมอีกกว่า 10,000 แห่ง ที่เข้าข่ายเผยแพร่ภาพลามกอนาจาร แต่ว่าข้อมูลในเว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติระบุว่าเว็บไซต์ 32,467 แห่ง ได้ถูกปิดเนื่องจากเป็นเว็บไซต์ผิดกฎหมาย นับแต่การเซ็นเซอร์เริ่มขึ้นในประเทศไทยเมื่อเดือนเมษายน 2545 โดยทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดหมวดหมู่และระบุว่า มากกว่าครึ่งของเว็บไซต์ที่ถูกปิดเป็นเรื่องภาพลามก และอีก 3,571 เว็บไซต์หรือร้อยละ 11 ถูกจัดอยู่ในเรื่องกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

ในขณะที่มากกว่าร้อยละ 76 ของเว็บไซต์ที่ถูกปิดกั้นนั้น อยู่ในประเภทของภาพลามกอนาจาร หรือที่เกี่ยวกับธุรกิจโสเภณีและการขายบริการทางเพศ เราในฐานะประชาชนควรได้รับการชี้แจงที่เต็มรูปแบบ อย่างชัดเจนและโปร่งใสจากทางกระทรวงฯ โดยเฉพาะในเรื่องเว็บไซต์ที่ถูกปิดจำนวนที่เหลือ ที่ว่ากระทบต่อความมั่นคงนั้นกระทบต่อความมั่นคง ถึงขนาดในระดับที่รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยคุ้มครองประชาชนจากสิ่งนั้นหรือ

เป็นที่ชัดเจนกับประชาชนว่า เว็บไซต์บางแห่งที่ถูกประกาศว่าปิดนั้น ไม่ได้ถูกปิดแต่ประการใด ในขณะที่เว็บไซต์จำนวนมากไม่ได้อยู่ในรายการที่ถูกสั่งปิดกลับถูกปิด

นอกจากนี้ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน ทางกระทรวงฯ ได้ทำการปิดกระดานแสดงความคิดเห็น ไม่ว่ากระดานนั้น จะมีข้อความที่รุนแรงกระทบต่อความมั่นคงหรือไม่ก็ตาม เช่น ประชาไท, พันทิป และ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เราเห็นว่าการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารนั้น เป็นเรื่องที่น่าเย้ยหยันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการกระทำของกระทรวงแห่งข้อมูลข่าวสาร ทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้นำเรื่องการปิดเว็บไซต์ร้องต่อศาล (คดีหมายเลขที่ 1811/2549) และทางศาลได้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว บังคับให้ทางกระทรวงฯ หยุดการปิดเว็บไซต์ดังกล่าว ต่อมาปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายไกรสร พรสุธี ผู้มีบทบาทสำคัญในการปิดเว็บไซต์ได้รับการแต่งตั้งเข้าร่วมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ทางกระทรวงฯ ได้ประกาศว่า เว็บไซต์ที่จะถูกพิจารณาสั่งปิดจะถูกจัดออกเป็น 9 ประเภท จากการตรวจสอบเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2549 รายชื่อเว็บไซต์ที่ถูกสั่งปิดนั้นไม่ได้เปิดเผยโดยทางกระทรวงฯ แต่โดยทางไอเอสพีรายหนึ่ง โดยให้ข้อมูลว่า ไม่มีเว็บไซต์ใดเข้าประเภท 1-3 แต่ว่ามีเว็บไซต์สองสามแห่งที่เข้าประเภท 4 และ 5 อย่างไรก็ดีการจัดประเภทดังกล่าวก็ยังไม่ชัดเจน

โดยก่อนวันที่ 13 ตุลาคม นั้นการจัดประเภทนั้นค่อนข้างที่จะชัดเจน แต่ปัจจุบันเกิดกรณีการทับซ้อนขึ้น ทำให้เว็บไซต์ที่ถูกพิจารณาจะถูกนำไปจัดเข้าประเภทไหนก็ได้

และเป็นตามที่คาดการณ์ว่าประเภทที่ใหญ่สุดนั้นคือ ประเภทที่ 6 ที่เกี่ยวกับเรื่องลามกอนาจารและสิ่งล่อลวงอื่นๆ ภาพลามกนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศไทย แต่ว่าการเผยแพร่ภาพดังกล่าวนั้นปรากฏในทุกห้างสรรพสินค้าและถนนหนทาง ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด

กระบวนวิธีการที่ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้อยู่นั้น คือการส่งเรื่องไปยังหน่วยงานตำรวจสากล เพื่อที่จะให้ไปดำเนินการเอาส่วนที่ผิดกฎหมาย ออกจากเว็บไซต์ในต่างประเทศที่ตัวเซิร์ฟเวอร์ตั้งอยู่ ซึ่งวิธีการนี้ จะไม่เกี่ยวข้องกับทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแต่อย่างใด ส่วนวิธีการที่ทางกระทรวงฯ ใช้ในปัจจุบัน ไม่สามารถที่จะไปหยุดการเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในประเทศไทยหรือที่ไหน ๆ ก็ตาม เพราะว่าในขณะนี้มีเว็บไซต์มากกว่าสองพันล้านเว็บไซต์ และมีเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับภาพอนาจารอย่างต่ำกว่าสิบล้านเว็บไซต์ จึงมีคำถามว่า ก) การที่จะไปปิดกั้นเว็บไซต์นับล้านนั้น ทางกระทรวงมีความสามารถที่จะทำได้หรือ ข) มันคุ้มค่ากับจำนวนค่าใช้จ่ายมากมายที่จะเสียไปหรือ ค) หรือเป็นแค่การสร้างกระแสเพื่อปกปิดความเลวร้ายด้านการเมือง

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2549 ทางกระทรวงฯ (โดยนางมณีรัตน์ ผลิพัฒน์ รองปลัดกระทรวงฯ) กล่าวว่าประเทศไทยนั้นติดอยู่อันดับ 1 ใน 5 ของประเทศที่มีเว็บไซต์ภาพลามกมากที่สุด แต่ไม่สามารถที่จะให้ข้อมูลทางสถิติ หรือรายละเอียดของคำกล่าวอ้างนั้น นอกจากนี้ทางกระทรวงฯ ยังได้สรุปออกมาว่า วิธีการแก้ไขคือ จะต้องมีการออกกฎหมายและกฎกระทรวงมากยิ่งขึ้น ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ทางกระทรวงฯ (โดยนายสุชัย เจริญรัตนกุล รักษาการรัฐมนตรี) ได้แสดงความกังวล ในเรื่องที่อินเทอร์เน็ตเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมแก่เยาวชน ที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมได้

เราคงจะต้องยอมรับความจริงที่ว่า การพนันก็เป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทย โดยทางกระทรวงฯ ได้จัดให้เว็บไซต์เหล่านี้ อยู่ในรายการที่ต้องถูกสั่งปิดในประเภทที่ 6 ที่ออกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2549

ในประเภทที่ 7 ใช้กับพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์ที่ปกปิดตัวผู้ใช้ (Anonymous Proxy Server) ซึ่งมาตรการนี้ใช้ได้ผลเป็นอย่างมากในประเทศจีน และประเทศอื่น ๆ ในการที่จะเลี่ยงการเซ็นเซอร์เว็บไซต์ประเภทเดียวกันกับที่เราเห็นจากกระทรวงฯ มาตรการเหล่านี้ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นนโยบายสังคมที่ขัดแย้งกับมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 และพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม เมื่อเร็วๆ นี้คือในเดือนตุลาคม 2549 ทางกระทรวงฯ ได้ร้องขอให้กูเกิลในไทย และกูเกิลในสหรัฐอเมริกาทำการเซ็นเซอร์ด้วยตนเอง โดยในขณะนี้ทางกูเกิลได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อดูว่าการปิดกั้นนั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดกับหน้าเว็บที่ถูกทดบันทึกไว้ (หน้าแคช) จากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย ทางกูเกิลได้นำเสนอแก่กระทรวงฯ ว่า ทางบริษัทจะทำการปิดกั้นเว็บไซต์ที่ค้นหาโดยการใช้คำสำคัญ ซึ่งเป็นวิธีการที่บริษัทใช้อยู่กับกรณีการปราบปรามความเห็นทางการเมืองในประเทศจีน

ในประเภทที่ 8 เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ที่ว่าด้วยการเมืองไทย โดยจะเน้นในเรื่องปัญหาทางใต้ โดยเฉพาะกรณีที่องค์กรปลดปล่อยปัตตานี หรือ พูโล คำถามคือ ถึงแม้ว่าพูโลจะเป็นองค์กรที่ผิดกฎหมาย แต่เป็นการถูกกฎหมายหรือที่จะไปปิดช่องทางการเรียกร้องของพูโลต่อสหประชาชาติ นี่จึงเป็นนโยบายสาธารณะที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างชัดเจน และยังละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรา 37 และพระราชบัญญัติกิจการโทรคมนาคมอีกด้วย

ประเภทที่ 9 เป็นเว็บไซต์ที่มีข้อความเกี่ยวกับราชวงศ์ไทย เนื่องจากเราไม่สามารถที่จะเข้าไปดูข้อความในเว็บไซต์เหล่านั้น เราอาจจะดูจากการกระทำของกระทรวงฯ ที่เคยสั่งปิดเว็บไซต์ทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเยล โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เนื่องจากไม่ปรากฎว่ามีข้อความหมิ่นต่อพระราชวงศ์แต่อย่างใด อีกทั้งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และมีพระราชวงศ์ไทยเป็นจำนวนมากเป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยแห่งนี้

เป็นที่น่าสนใจว่าจากเว็บไซต์ทั้งหมด 50 แห่งในประเภท 8 และ 9 มีเพียง 7 เว็บไซต์เท่านั้นที่ยังเปิดอยู่ โดยเว็บไซต์เหล่านี้ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ไทย แต่เป็นเรื่องการวิจารณ์อดีตรัฐบาลไทยรักไทยและอดีตรักษาการณ์นายกรัฐมนตรี ที่เกี่ยวกับสถานการณ์นองเลือดในสี่จังหวัดชายแดนใต้ และข้อความที่เกี่ยวกับการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน ทางกระทรวงฯ ได้กล่าวอ้างว่าทางหน่วยงานได้ทำการปิดกั้นน้อยกว่า 20 เว็บไซต์โดยคำสั่งที่ 5/2549 ใครในรัฐบาลขณะนี้ที่ออกคำสั่งให้ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำการปิดกั้นเว็บไซต์เหล่านั้น

โดยปกติเมื่อผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในไทยพยายามที่จะเข้าเว็บไซต์ที่ถูกปิดนั้น คำสั่งดังกล่าวจะถูกส่งมายังหน่วยงานตรวจสอบไซเบอร์ / ไซเบอร์คลีน ของกระทรวงไอซีที ทางกระทรวงไอซีทีอ้างว่าการปิดกั้นไม่ได้ทำเป็นความลับ เพราะผู้ใช้จะเห็นประกาศการปิดกั้นเมื่อพยายามค้นหาเว็บไซต์ที่ถูกปิด หลังจากที่อ้างว่าการปิดกั้นไม่ได้ทำเป็นความลับ ทางกระทรวงฯยังปฏิเสธที่จะให้รายชื่อของเว็บไซต์ที่ถูกปิด โดยอ้างว่ารายชื่อดังกล่าว อาจถูกนำมาใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม เราขอยืนยันว่าถ้าทางกระทรวงฯ ไม่เปิดเผยรายชื่อเว็บไซต์ทั้งหมดแก่สาธารณชนที่ทางกระทรวงได้ร้องขอให้ทางไอเอสพีปิดกั้นนั้น เท่ากับว่าจริงๆ แล้ว มันก็คือความลับนั่นเอง

อย่างไรก็ดี วิธีการของทางกระทรวงฯ ที่ไม่ใช่การกระทำโดยตรงเหมือนวิธีการของวันที่ 13 ตุลาคม ผู้ใช้จะได้รับข้อความการปฏิเสธการให้บริการเมื่อมีการพยายามที่จะเข้าเว็บไซต์ที่ถูกปิดนี้ รวมถึง Access Denied (policy_denied) (improper/obscene website), Network Error (tcp_error) (Operation timed out) และข้อความผิดพลาดทางเบราว์เซอร์ เช่น Can’t find the server, Can’t open the page (กรณีที่เซิร์ฟเวอร์ไม่ดี) และ Can’t open the page (ในกรณีที่เซิร์ฟเวอร์หยุดการส่งข้อมูลกลับ)
ข้อความเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้เชื่อว่าปัญหานั้นเกิดจากไอเอสพี หรือเว็บเบราว์เซอร์ มากกว่าที่จะเป็นการปิดเว็บไซต์

คำถามสำคัญที่ยังไม่ได้รับคำตอบมีดังต่อไปนี้

  1. กรอบแห่งกฎหมาย กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือคำสั่งทางปกครองของไทยฉบับใด ที่ให้อำนาจกระทรวงฯ ในการที่ปิดเว็บไซต์ในประเทศไทยถ้าไม่มีกรอบกฎหมายดังกล่าว ถือว่ากระทรวงฯ ได้กระทำการละเมิดต่อมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญไทยปี 2540 ซึ่งระบุอย่างชัดเจนว่าห้ามกระทำการใด ๆ ที่ไปขัดขวางการติดต่อสื่อสาร “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย การตรวจ… สิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อกัน จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเป็นการเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน”ทางกระทรวงได้ทำการว่าจ้างมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อทำการวิจัยหาวิธีการที่จะใช้กฎหมายที่มีอยู่ในการบังคับการปิดเว็บไซต์ ความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษานั้น ทางกระทรวงฯ ให้เหตุผลว่าเนื่องจากกฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นไม่เคยได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล การสื่อสารเสรีนั้นได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญไทยปี 2540 อันเป็นกฎหมายหลักพื้นฐาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำลังพยายามที่จะกลับและทำลายหลักการดังกล่าวโดยมิชอบ
  2. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ปฏิเสธที่จะเปิดเผยหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการปิดกั้นเว็บไซต์ ดังนั้นใครคือบุคคลที่ทำการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว
  3. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยังปฏิเสธที่จะอธิบายคำจำกัดความ เช่น “ไม่เหมาะสม”, “ลามก” หรือ “ผิดกฎหมาย” คำว่า “ไม่เหมาะสม” นั้นเป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก ซึ่งขึ้นอยู่กับการจำกัดความของแต่ละบุคคล ส่วนคำว่า”ลามก” ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของสังคมนั้น ๆ เช่น เป็นเวลาหลายปีที่ภาพของสะดือเคยถูกพิจารณาว่าเป็นภาพลามกในญี่ปุ่น คำว่า “ผิดกฎหมาย” เป็นคำกล่าวอ้างที่รุนแรงที่จะประกาศว่าข้อความในเว็บผิดกฎหมาย ทางกระทรวงฯ จะต้องสามารถที่จะแสดงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเสียก่อนที่จะถือว่าสิ่งนั้นละเมิดกฎหมาย ส่วนคำว่า “ไม่สมควร” นั้นไม่มีผลในทางกฎหมาย
  4. บุคคลใดในกระทรวงฯ ที่มีอำนาจในการพิจารณาว่าเว็บไซต์ไหนควรจะปิด
  5. การพิจารณาว่าเว็บไซต์ไหนควรปิดหรือไม่นั้น ทำโดยบุคคล ๆ เดียว หรือเป็นการพิจารณาโดยคณะกรรมการที่มีหน้าที่ตรวจสอบพิจารณา และกำหนดนโยบาย
  6. บุคคลใดในกระทรวงฯที่มีอำนาจเหนือบุคคลหรือคณะกรรมการ และมีอำนาจตัดสินเป็นครั้งสุดท้ายว่าเว็บไซต์ไหนควรถูกปิด
  7. และบุคคลใดจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวในกระทรวงฯ สำหรับการตรวจตราเว็บไซต์ต่าง ๆ นี้
  8. การปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลที่ถามข้างต้นของกระทรวงฯ จะเป็นการชัดเจนว่าขัดต่อพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของรัฐ พ.ศ. 2540ตัวอย่างที่ดีคือกรณี IPIED Internet Server ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แม้ว่าสัญญาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ทำกับบริษัทสามารถ จะระบุชัดเจนว่า ห้ามการปิดกั้นเว็บไซต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ทางบริษัทสามารถได้ติดต่อกับทาง IPIED ว่าจะทำการปิดกั้นเว็บไซต์ ตามคำขอของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นำมาซึ่งการละเมิดข้อสัญญากับมหาวิทยาลัย
  9. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยังปฏิเสธที่จะระบุเจาะจงตำรวจไทยและตำรวจระหว่างประเทศ กฎเกณฑ์และหน่วยงานของรัฐที่มีส่วนร่วมในการปิดกั้นเว็บไซต์ และรูปแบบของการร่วมมือดังกล่าวมีเว็บไซต์แบบไม่มีค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่อนุญาตให้ใคร ๆ ก็ได้เอาข้อมูลมาแสดงไว้โดยไม่มีข้อจำกัด เช่น เว็บไซต์ที่เป็นภาษาอังกฤษจำพวก Angelfire, Geocities และอื่น ๆ ที่ให้บริการลักษณะนี้ ซึ่งรองรับหน้าเว็บนับล้าน ซึ่งแต่ละอันสามารถเข้าไปชมได้ด้วย URL และ IP address ส่วนตัว การที่จะทำการปิดกั้นโดเมนเหล่านี้ทั้งหมด เท่ากับว่าเป็นการปิดระบบอินเทอร์เน็ตทั้งหมดของไทยวิธีการของกระทรวงฯ คือปิดโดเมนทั้งหมดเพื่อที่จะปิดหน้าเว็บที่มีปัญหาอันเดียวกระทรวงจะต้องทำการพิจารณาอย่างมีสติว่าจะอนุญาตให้คนไทยตัดสินว่าสิ่งใด ไม่ดี สำหรับพวกเขาในระดับไหน
  10. กระทรวงฯ จะต้องแยกเหตุผลการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตพวกกระดานแสดงความคิดเห็น โดยต้องระบุอย่างชัดเจนถึงเหตุผลในการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของสาธารณะ
  11. เนื่องจากเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลอย่างกูเกิล กำลังถูกร้องขอให้ปิดกั้นเว็บไซต์โดยการใช้คำสำคัญ จะต้องระบุให้ชัดว่า คำสำคัญเหล่านั้นมีอะไรบ้าง

กระบวนการเหล่านี้ มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่จะมีการใช้อำนาจในทางที่ผิด และการใช้อำนาจในทางที่ผิดดังกล่าวได้เกิดขึ้นแล้วในขณะนี้ ยกตัวอย่างเช่น มีบริษัทจำนวนมากที่อาจจะต้องการที่จะทำการกีดกันคู่แข่งทางธุรกิจบางราย หรือบุคคลใดบางคนในสาธารณะด้วยความริษยา เป็นการง่ายดายอย่างมากที่จะร้องต่อทางกระทรวงฯ ให้ทำการปิดกั้นเว็บไซต์ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ จะเป็นการเพิ่มความเป็นไปได้ในการที่จะมีการใช้อำนาจในทางที่ผิด เนื่องจากการร้องขอเช่นนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการเปิดเผยตัวตนแต่อย่างใด

เป็นเวลานานแล้วที่ทางไซเบอร์คลีน / ไซเบอร์อินสเป็กเตอร์ ไม่เปิดโอกาสที่จะร้องขอต่อทางกระทรวงฯ ให้ถอนการปิดกั้นเว็บไซต์ อย่างไรก็ตามในขณะนี้ บุคคลทั่วไปสามารถที่จะร้องขอให้มีการถอนการปิดกั้น แต่ว่ากระบวนการดังกล่าวนั้นก็ช่างยากเย็นนักที่จะทำ นอกจากนี้ผู้ร้องขอให้เปิดเว็บไซต์ยังจำเป็นที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวและอีเมลด้วย ส่งผลให้การปิดกั้นทำได้ง่าย ในขณะที่การเพิกถอนการปิดกั้นนั้นทำได้ลำบากมาก

เราคาดว่าอย่างน้อยร้อยละ 40 ของนักศึกษาไทย ที่จะไม่สามารถค้นคว้าข้อมูลเพื่อทำวิทยานิพนธ์หรือรายงานทางวิชาการที่มีประสิทธิภาพ เพราะผลจากการปิดกั้นเว็บไซต์ นี่หมายความว่าบัณฑิตเหล่านี้จะไม่สามารถที่จะไปแข่งขันกับบัณฑิตต่างชาติได้ เราควรจะรับรู้ว่าประเทศไทยนั้นขาดแคลนห้องสมุดเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในต่างจังหวัด อินเทอร์เน็ตสำหรับหลายคนจึงเป็นช่องทางเดียวในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อทำการวิจัย

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนในไทยต้องเผชิญกับปัญหาเว็บไซต์นับร้อยถูกปิด โดยไม่มีเหตุผลอธิบายที่แน่ชัด สถานการณ์เช่นนี้ส่งผลกระทบต่อการศึกษาวิจัยทางวิชาการ การแข่งขันทางธุรกิจ และเสรีภาพสื่อมวลชน รวมถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและเสรีภาพ ผลโดยตรงที่เกิดขึ้นคือ สาธารณชนไม่มีช่องทางที่จะได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์จากมุมมองของโลกภายนอก

ทางกระทรวงได้ทำการปิดกั้นเว็บไซต์ ของสองมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา คือ Yale และ Tufts ดูเหมือนว่าเว็บไซต์ของทางมหาวิทยาลัย Yale จะถูกถอดจากการปิดกั้นแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถที่จะถือได้ว่าเป็นคุณประโยชน์แก่สังคมไทย นักเรียน และนักศึกษา ในการที่ไปปิดกั้นเว็บไซต์ของหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก ที่มีสมาชิกในราชวงศ์เป็นศิษย์เก่า

ถ้าทางกระทรวงฯ เชื่อว่ากระบวนการเหล่านี้ เป็นเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนชาวไทย ที่เว็บไซต์บางแห่งจำเป็นที่จะต้องถูกปิดกั้นไม่ให้คนไทยได้เห็น ทั้ง ๆ ที่เว็บไซต์เหล่านี้สามารถเข้าชมได้อย่างง่ายดายจากต่างประเทศ เมื่อเป็นเช่นนั้นทางกระทรวงฯ จะต้องทำให้วิธีการเหล่านี้โปร่งใส และสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยโดย 1) เปิดเผยว่าใช้กฎหมายอะไร 2) เปิดเผยว่าใช้เหตุผลอะไร 3) เปิดเผยรายชื่อเว็บไซต์ที่ถูกปิดกั้น

สิ่งที่สำคัญที่สุด ของนโยบายการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือการปิดเว็บไซต์ที่มีข้อความดูหมิ่นพระราชวงศ์ เป็นที่แน่แท้ว่าพวกเรานั้นมีความเคารพรักต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชวงศ์อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดีจากการศึกษาการจัดประเภทเว็บไซต์ของกระทรวงฯ ไม่มีเว็บไซต์ไหนเลยในประเภท 9 ที่ยังเปิดให้บริการอยู่ แต่ขอถามว่าข้อความในเว็บไซต์เหล่านี้ จะส่งผลต่อความจงรักภักดีของเราต่อราชวงศ์จริงหรือ

ข้อแก้ตัวอันดับที่สอง ที่ทางกระทรวงฯ ใช้ในการเซ็นเซอร์คือเรื่อง ภาพลามกอนาจาร แต่เราคิดว่าในขณะนี้ประเทศไทยมีกฎหมายที่ครอบคลุม และทางตำรวจก็มีอำนาจที่จะจัดการเรื่องเหล่านี้ โดยใช้กฎหมายเป็นหลัก ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เรารู้สึกว่าทางที่ดีสังคมไทยควรได้รับการบอกกล่าวว่า เรื่องปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องของทางกฎหมายและปัญหาทางสังคม ไม่ใช่เรื่องการเซ็นเซอร์ปิดกั้นอินเทอร์เน็ต

ถ้าเราสามารถขจัดเหตุผลทั้งสองอัน ที่นำมาอ้างใช้ในการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต เหตุผลเดียวที่ยังเหลืออยู่คือ การปิดกั้นโดยเหตุผลเรื่องการเมือง เราถือว่าเหตุผลทั้งสองที่กล่าวอ้างข้างต้นนั้น จริง ๆ แล้ว เปรียบเสมือนการสร้างกระแสปกปิดเรื่องการควบคุมการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองนั่นเอง

เราจึงต้องการที่จะสามารถที่จะได้รับข้อมูล ที่มีการแลกเปลี่ยนอย่างมีอิสระทางความคิดและความคิดเห็น

การปิดกั้นเว็บไซต์ หรือในทางที่จริงแล้วคือ การที่รัฐบาลทำการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งปกติจะเป็นวิธีการที่ใช้โดยรัฐบาล ที่รู้สึกว่าตนไม่มั่นคงในการที่จะพยายามควบคุมประชาชน โดยปกติแล้ววิธีการเซ็นเซอร์เช่นนี้ จะใช้กับความคิดเห็นที่ต่อต้านรัฐบาล หรืออาจส่งผลกระทบต่อฐานอำนาจ เฉกเช่นที่ใช้ใน พม่า หรือ จีน หรือ เกาหลีเหนือ ซึ่งที่จริงแล้วก็คือสิ่งเดียวกับที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา แต่อยู่ในรูปที่เรียกว่า พระราชบัญญัติรักชาติ หรือ Patriot Act ประเทศไทยไม่ใช่พม่า หรือ จีน หรือ เกาหลีเหนือ (ตอนนี้) บางทีคำกล่าวของ อองซาน ซูจี ดูจะเหมาะสมกับเรื่องนี้มากที่สุด “เราไม่มีสิ่งใดที่จะต้องกลัว เว้นแต่ตัวความกลัวเอง”

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหน่วยงานเพื่อประชาชน และบุคลากรก็เป็นผู้ที่ทำงานให้ประชาชน ประชาชนคนไทยเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของกระทรวงฯ ดังนั้นเราจึงมีสิทธิพื้นฐานที่จะรู้

ถ้าเรายอมให้สิ่งที่ดูเหมือนเล็กน้อยเหล่านี้มาค่อย ๆ ลดทอนสิทธิเสรีภาพของเราโดยการเซ็นเซอร์ปิดกั้นอินเทอร์เน็ต ในที่สุดเสรีภาพอื่น ๆ ของเราก็อาจจะถูกลดทอนลงไปด้วยในที่สุด เราเชื่อว่าการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต เป็นการพยายามที่น่าหวาดหวั่นของพวกเหล่าข้าราชการที่รับใช้นักการเมือง ในการที่จะทำลายเสรีภาพทางความคิดและความเห็นของเรา

ประเทศไทยอยู่ในจุดที่เป็นทางแยกที่สำคัญของประวัติศาสตร์ เราสามารถที่จะเลือกเสรีภาพและการสร้างสรรค์ หรือเราจะเลือกการปกปิดและการกดขี่

อินเทอร์เน็ตในขณะนี้เป็นที่เดียวที่ความเห็นทั้งหมดต่างเท่าเทียมกัน จึงเป็นการสมควรหรือที่จะมีบุคคลใดมาตัดสินความเห็นเหล่านี้ เราไม่เชื่อว่าอินเทอร์เน็ตสมควรที่จะมีการปกปิด ปิดกั้น หรือจัดการในทุกรูปแบบ

การเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ไม่สมควร น่ารังเกียจ และผิดกฎหมายในประทศไทยอันเป็นประชาธิปไตย

เราขอร้องให้ท่านเข้ามาทำหน้าที่ และ ตรวจสอบการทำลายสิทธิมนุษยชนขึ้นพื้นฐาน และเสรีภาพของประชาชนในประเทศไทยอย่างชัดเจนครั้งนี้ อย่างละเอียดถี่ถ้วนและสมบรูณ์ที่สุด

ขอบคุณ

ติดต่อ

สุภิญญา กลางนรงค์ <freemediafreepeople AT gmail.com> โทร 086-788-9322 (ภาษาไทย)
CJ Hinke <facthai AT gmail.com>, <cj AT tu.ac.th> Tel 087-976-1880 (English)


หากคุณเห็นด้วยกับคำร้องนี้ — สามารถร่วมลงชื่อสนับสนุนได้กรุณาช่วยบอกต่อเพื่อน ๆ ทั้งปากต่อปาก ทางอีเมล เขียนลงบล็อก ฯลฯ เกี่ยวกับคำร้องและการลงชื่อสนับสนุนนี้ นี่คือลิงก์ของเรา: https://facthai.wordpress.com/tags: , , , , ,

16 Responses to “คำร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ”


  1. […] A part of the petition includes 11 unanswered questions for the ministry of ICT.  Here are the excerpts. […]

  2. bact' Says:

    Do we have this petition in English and other languages ?
    So non-Thai speakers can understand it.


  3. […] คำร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ […]

  4. lipmon Says:

    1เสียงครับ


  5. […] November 22nd, 2006 [คำร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห…] […]

  6. Amnart Puemkhuen Says:

    1 vote


  7. ยอมรับครับว่าผมก็ชอบดูและอ่านสื่อลามกเหมือนกัน ชอบมากด้วย

    แต่มีอยู่บางเว็บ ที่จำได้ ก็เว็บที่รวบรวมเซ็กส์สตอรี่ (ภาษาไทย) ผมเคยทดลองแจ้งกับทางระบบในเว็บ Cyber Clean ของไอซีที ให้เซนเซอร์หรือแบนเว็บนี้ มันกลับไม่แบนครับคุณ.

    ผมไม่เห็นด้วยที่จะกำหนดว่าการมีหนังเอ็กส์หรือไฟล์การ์ตูนโป๊เป็นสิ่งผิดกฎหมาย (ผมไม่เคยซื้อหามันครับ ผมก็อปปี้จากที่เพื่อนโหลดมา) – ทำไมในต่างประเทศจึงมีสื่อกามที่ถูกกฎหมายล่ะ?

    จริงอยู่ เด็กไม่ควรดู แต่ผมและเพื่อนผม ก็ไม่ใช่เด็กมานานแล้ว

    จริงอยู่ พวกข่มขืนชอบโทษหนังเอ็กส์ แต่… ผู้รับสื่อควรมีวิจารณญาณ อย่างไรก็ตาม คนไทยบางคนอาจขาดความยับยั้งชั่งใจหรือขาดทักษะในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง

    ผมเชื่อว่าที่ทำให้ประเทศชาติเดือดร้อนในตอนนี้ ส่วนหนึ่งอาจมาจากสื่อกามหลายๆ รูปแบบ ซึ่งอาจเป็นส่วนใหญ่ก็ว่าได้ มาจากประเทศยุ่น


  8. ยอมรับครับว่าผมก็ชอบดูและอ่านสื่อลามกเหมือนกัน ชอบมากด้วย

    แต่มีอยู่บางเว็บ ที่จำได้ ก็เว็บที่รวบรวมเซ็กส์สตอรี่ (ภาษาไทย) ผมเคยทดลองแจ้งกับทางระบบในเว็บ Cyber Clean ของไอซีที ให้เซนเซอร์หรือแบนเว็บนี้ มันกลับไม่แบนครับคุณ.

    ผมไม่เห็นด้วยที่จะกำหนดว่าการมีหนังเอ็กส์หรือไฟล์การ์ตูนโป๊เป็นสิ่งผิดกฎหมาย (ผมไม่เคยซื้อหามันครับ ผมก็อปปี้จากที่เพื่อนโหลดมา) – ทำไมในต่างประเทศจึงมีสื่อกามที่ถูกกฎหมายล่ะ?

    จริงอยู่ เด็กไม่ควรดู แต่ผมและเพื่อนผม ก็ไม่ใช่เด็กมานานแล้ว

    จริงอยู่ พวกข่มขืนชอบโทษหนังเอ็กส์ แต่… ผู้รับสื่อควรมีวิจารณญาณ อย่างไรก็ตาม คนไทยบางคนอาจขาดความยับยั้งชั่งใจหรือขาดทักษะในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง

    ผมเชื่อว่าที่ทำให้ประเทศชาติเดือดร้อนในตอนนี้ ส่วนหนึ่งอาจมาจากสื่อกามหลายๆ รูปแบบ ซึ่งอาจเป็นส่วนใหญ่ก็ว่าได้ ที่มาจากประเทศยุ่นหรือประเทศใกล้เคียง


  9. สื่อลามกเดียวนี้หาดูได้ง่ายมากคับ

  10. Nat Changsnit Says:

    เสรรีภาพในการแสดงความคิดเห็นคือสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชน


  11. […] ได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ […]


Leave a comment