FACT เสนอ “เสรีภาพพลเมืองในรัฐธรรมนูญ”

March 15, 2007

[English: FACT proposes Civil Liberties to Constitution Drafting Committee]

สำหรับเผยแพร่

FACT เสนอเสรีภาพของพลเมืองต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ

กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT) ได้เสนอให้บรรจุเสรีภาพของพลเมืองเข้าเป็นพื้นฐานของกฎหมายไทย ในข้อเสนออย่างเป็นทางการที่ยื่นต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ

สาระสำคัญในข้อเสนอของ FACT ซึ่งได้รับมอบอย่างเป็นทางการโดย ดร. นรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ และคุณอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกสภานิติบัญญัติ คือการมุ่งรักษาคุณค่าหลักในหมวด 3 ของรัฐธรรมนูญ “ฉบับประชาชน” ปี 2540 โดยเฉพาะมาตรา 37 ที่ระบุว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย” นั้น เป็นเกราะอันดีเยี่ยมที่คุ้มครองประชาชนจากการปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร มาตรานี้รับรองสิทธิของประชาชนในการสื่อสารเสรีระหว่างกันโดยไม่จำกัดวิธีการ รวมทั้งผ่านอินเทอร์เน็ตด้วย

แต่จวบจนปัจจุบัน มาตรการปิดกั้นเว็บไซต์จำนวนกว่า 45,000 แห่งในอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลไทยยังดำเนินอยู่ต่อไปในทางที่ละเมิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง เนื่องจากไม่มีกฎหมายฉบับใดที่อนุญาตให้รัฐทำเช่นนี้ และในความเป็นจริง ทั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (“คมช.”) และศาลปกครองก็ได้มีคำตัดสินว่า การปิดกั้นอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

นอกจากนั้น การปิดกั้นเว็บไซต์ดังกล่าวข้างต้นยังเป็นการละเมิดมาตรา 37 ในรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเราถือว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ยังเป็นกฎหมายพื้นฐานของประเทศอยู่ จนกว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาทดแทน

FACT แนะนำว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรระบุมาตรการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล โดยรวมถึงการห้ามมิให้ผู้ใดเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของปัจเจกชน

มาตรา 39 ในรัฐธรรมนูญระบุว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น” ซึ่งรวมถึงสื่ออิเล็คทรอนิคส์ทุกชนิด FACT เสนอว่า มาตรานี้ควรได้รับการขยายขอบเขตให้ห้ามการเซ็นเซอร์ทุกวิถีทาง ซึ่งหมายความว่าควรห้ามการสั่งแบนหนังสือด้วย

FACT สนับสนุนมาตรา 41 ซึ่งคุ้มครองเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน หรือบุคคลอื่นใด นอกจากนี้ FACT ก็สนับสนุนการขยายขอบเขตของมาตรา 42 ซึ่งเกี่ยวกับเสรีภาพทางวิชาการ ให้ห้ามการปิดกั้นการอภิปรายทางวิชาการทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวงสนทนา ข้อเขียน หรือผ่านสื่ออิเล็คทรอนิคส์

มาตรา 45 เสรีภาพในการรวมกันเป็นหมู่คณะ เป็นเสรีภาพที่จำเป็นต่อสังคมที่มีเสรีภาพและเป็นประชาธิปไตย FACT ขอยืนกรานว่ามาตรานี้ควรได้รับการขยับขยายให้ครอบคลุมการรวมกันเป็นกลุ่มคณะบนอินเทอร์เน็ตด้วย เช่น การใช้กระดานสนทนาบนเว็บ หรือการรวมกลุ่มใน “โลกเสมือน” ในไซเบอร์สเปซ เพราะพื้นที่เสมือนจริงเหล่านี้มักตกเป็นเป้าแห่งการกดขี่ปิดกั้นของรัฐมานานเกินควรแล้ว

นอกจากนี้ FACT ยังเสนอให้มีการขยายขอบเขตของสิทธิในการรับทราบข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ ตามมาตรา 58 และ 59 และสิทธิในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของรัฐในมาตรา 60 เนื่องจากรัฐควรมีความโปร่งใสและความรับผิดตลอดเวลา

FACT เสนอให้สิทธิของประชาชนตามมาตรา 61 (สิทธิ “ในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันสมควร”) ได้รับการคุ้มครองอย่างแท้จริงด้วย เพราะจวบจนปัจจุบันยังไม่มีฝ่ายใดที่เคารพในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอย่างแท้จริง เพราะคณะกรรมการสิทธิฯ ยังไม่มีอำนาจใดๆ ที่จะดำเนินการตามข้อเสนอแนะของตัวเอง ดังนั้น FACT จึงสนับสนุนให้คณะกรรมการสิทธิฯ มีอำนาจตุลาการและบริหารเต็มรูปแบบ

ท้ายนี้ FACT เชื่อว่ารัฐควรสนับสนุนสิทธิของปัจเจกชนในการฟ้องหน่วยงานราชการตามมาตรา 62 และเพิ่มเติมมาตราว่าด้วยเสรีภาพจากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งเป็นข้ออ้างที่รัฐใช้เป็นเครื่องมือในการกดขี่ทางการเมืองและปิดกั้นความเห็นต่าง กฎหมายเหล่านี้ขัดแย้งกันกับมาตราก่อนหน้า

FACT เชื่อว่า คนแทบทุกคนจะเลือกอยู่ข้างความดี ไม่ใช่ความชั่วร้าย FACT สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพ ในการคิด และเสรีภาพของแนวคิดที่แตกต่าง จงร่วมกันปลดปล่อยประเทศไทย!

กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT)

เว็บไซต์: https://facthai.wordpress.com

ลงชื่อสนับสนุน: http://thailand.ahrchk.net/fact_petition/

4 Responses to “FACT เสนอ “เสรีภาพพลเมืองในรัฐธรรมนูญ””


  1. […] March 15th, 2007 [ภาษาไทย: FACT เสนอเสรีภาพของพลเมืองต่อสภาร่าง…] […]


  2. […] FACT เสนอ “เสรีภาพพลเมือง” ในรัฐธรรมนู… […]


  3. […] FACT เสนอ “เสรีภาพพลเมือง” ในรัฐธรรมนู… […]


Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: