Press Release
November 16, 2006
Press Conference and Public Forum on Internet Censorship
Wednesday, November 15
1:30 pm, October 14 Memorial Hall, Ratchadamnoen
(in Thai and English, translation available)
Filing our petition to the National Human Rights Commission
Wednesday, November 15
5:00 pm, National Human Rights Commission, Anti-Money Laundering Office Bldg, Ratchawithi, opposite Siam Discovery Centre
(THAI TEXT FOLLOWS)
FOR IMMEDIATE RELEASE
FREEDOM AGAINST CENSORSHIP THAILAND–NOW!
A distinguished group of academics, journalists, publishers, business owners and parents today formed the Freedom Against Censorship Thailand (FACT) to file a formal petition before the Thai Human Rights Commission asking for a complete ban on Internet censorship in Thailand.
Since 2002 when Internet censorship was initiated by the Thai
government, more than 35,000 websites have been blocked. The Ministry of Information and Communications Technology (MICT) blocks 2,500 websites; the Royal Thai Police, 32,500; and the Communications Authority of Thailand (CAT) an unspecified further number.
There is no Thai law which permits such blocking, all of which is done in secret. In fact, the 1997 Thai Constitution guarantees unfettered access to all communication, as does the Thai Telecommunications Act. MICT has funded a study from Sukhothai Thammathirat University’s legal faculty to determine how current laws can be used to enforce Internet blocking in order to subvert and undermine the foundation of law enshrined in the Thai Constitution.
The Thai Government conceals a hidden agenda by targeting pornographic websites, the majority of those blocked. At least 11% of websites blocked are critical of former Prime Minister Thaksin Shinawatra, his Thai Rak Thai (TRT) party, government handling of the violence in southern Thailand and the September 19 coup d’etat.
In addition to keeping this blocklist secret, Thai government agencies also will not disclose their criteria for blocking websites or who, in fact, is making these decisions. Nor will they define what is considered “a threat to national security”. This lack of public transparency is in direct contravention of the Information of Government Act 2540.
Since September 19, MICT is also blocking public discussions in which comments and replies from the public are posted to moderated and unmoderated webboards such as Prachatai, Pantip and Midnight University. Midnight University has already brought their case before the Human Rights Commission and the Administrative Court and was granted an interim injunction to unblock their website pending the Court’s final determination.
MICT has also blocked anonymous proxy servers through which Thai Internet users can access a blocked webpage. The Ministry has also requested Google Thailand and Google USA to block access to its cached web pages in Thailand by which blocked pages can be accessed, as well as to block by keyword search. Both these methods are used as tools used for political repression in China.
As of October 13, 2006, websites from BBC 1, BBC 2, CNN, Yahoo News, Seattle Post-Intelligencer, The Age, Amazon.com, Amazon UK and Yale University Press containing articles about His Majesty King Bhumibhol and Thaksin are also being blocked by MICT.
The blocking of websites or, in fact, any government censorship of freedom of expression, is most often used by an insecure government in a feeble attempt at control of its citizens. Usually the censorship is directed against views government deems unconventional or unorthodox, if not an outright threat to power, as in Burma or China or North Korea or, in fact, in the USA using its PATRIOT Act. Thailand is not Burma or China or North Korea (yet). Perhaps Aung San Suu Kyi said it best: “We have nothing to fear but fear itself.”
There are an estimated more than two billion distinct websites,
including at least ten million pornographic sites. Is blocking
millions of sites A) within the Thai government’s capabilities; B)
worth the huge expenditure necessary; or C) just a smokescreen for a far more sinister political agenda?
Internet censorship impacts on academic research, business
competition, media freedom, and family education, among many other fundamental rights and freedoms.
We estimate that at least 40% of Thai graduate students will be unable to complete thorough, effective theses or dissertations due to blocked websites. This means these Thai graduates will never be able to compete with international graduates.
It should also be noted that we have a dearth of libraries available in Thailand, especially in the provinces; the Internet is, for many, the only source for research and information.
The Internet is presently the only forum in which all opinions are
equal, neutral and non-commercial. Should not any person judge the validity of those opinions for themselves? We do not believe the World Wide Web should be in any manner curtailed, censored or managed anywhere.
Freedom Against Censorship Thailand is a partner in the Global
Internet Liberty Campaign (GILC) and has received statements of support from more than 70 international organisations including Electronic Frontier Foundation (EFF) whose website is blocked by MICT).
The world is watching. Internet censorship is improper, obscene and illegal in a democratic Thailand.
Contact details:
CJ Hinke <facthai at gmail.com> tel. 087-976-1880 (English)
Supinya Klangnarong (<freemediafreepeople at gmail.com>) โทร 086-788-9322 (ภาษาไทย)
สำหรับเผยแพร่
FREEDOM FROM CENSORSHIP THAILAND–NOW!
ในวันนี้กลุ่มคณะของเหล่านักวิชาการ สื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ เจ้าของธุรกิจและผู้่ปกครองได้รวมกันจัดตั้งกลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (Freedom Against Censorship Thailand (FACT) เพื่อที่จะนำเรื่องเรียกร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทย เพื่อให้ยุติการเซ็นเซอร์อย่างสิ้นเชิงในไทย
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 หลังจากที่รัฐบาลได้เริ่มการเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ต เว็บไซต์มากกว่า 35,000 เว็บไซต์ได้ถูกบล็อก โดยทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ทำการบล็อกเว็บไซต์กว่า 2,500 เว็บไซต์ และทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ทำการบล็อกอีก 32,500 เว็บไซต์ และยังมีอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถรู้ได้จากการบล็อกของการสื่อสารแห่งประเทศไทย
เนื่องจากไม่มีกฎหมายไทยฉบับใดที่อนุญาตให้สามารถทำการบล็อกอินเตอร์เน็ต การกระทำเหล่านี้จึงทำในลักษณะเชิงที่เป็นความลับ จริงๆแล้วรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 ได้รับรองเสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ให้ทุนวิจัยแก่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อที่จะทำการศึกษาหากฎหมายที่มีอยู่ในขณะนี้ที่สามารถรองรับการใช้อำนาจอันขัดต่อหลักกฎหมายที่รัฐธรรมนูญรองรับ
รัฐบาลได้ปกปิดภาวะซ่อนเร้นโดยอ้างการปิดเว็บไซต์ลามก ซึ่งเป็นเว็บไซต์ส่วนใหญ่ที่ถูกบล็อก โดยอย่างน้อยร้อยละ 11 ของเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกนั้นเกี่ยวข้องกับการวิพากษ์วิจารณ์อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทยของเขา รวมถึงเรื่องมาตรการของรัฐที่เกี่ยวกับปัญหาภาคใต้และเรื่องรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน
ในการที่จะปิดรายชื่อเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกเป็นความลับ หน่วยงานของรัฐบาลไทยจึงไม่ยอมเปิดเผยเกณฑ์ที่ใช้ในการบล็อกเว็บไซต์ หรือบอกว่าบุคคลใดมีอำนาจในการตัดสิน อีกทั้งยังไม่อธิบายหรือให้คำจำกัดความคำว่า “มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ” การไร้ซึ่งความโปร่งใสต่อสาธารณะถือว่าเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของรัฐ พ.ศ. 2540
ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยังได้ทำการบล็อกกระดานแสดงความคิดเห็นที่มีความเห็นและความเห็นตอบจากสาธารณะแสดงอยู่ ไม่ว่ากระดานแสดงความคิดเห็นเหล่านั้นจะมีการตรวจสอบเบื้องต้นหรือไม่ก็ตาม เช่น ประชาไทย พันธุ์ทิพย์ และมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้นำเรื่องนี้สู่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเรียบร้อยแล้ว เฉกเช่นเดียวกับการนำเรื่องสู่ศาลปกครอง โดยทางศาลปกครองได้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวโดยให้ทำการปลดการบล็อกเว็บไซต์ดังกล่าวก่อนในช่วงขณะที่คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาขั้นสุดท้ายของศาล
ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยังได้ทำการบล็อก Anonymous proxy server ที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในไทยใช้ในการเข้าสู่เว็บไซต์ที่ถูกบล็อก ทางกระทรวงฯยังร้องขอต่อ Google Thailand และ Google USA ให้ทำการบล็อกการเข้าชม Cached web page ในไทยที่ทำให้สามารถเข้าชมหน้าของเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกไว้ เช่นเดียวกับกรณีการบล็อกการค้นหาโดยการใช้คำที่สำคัญ (Keyword) วิธีการทั้งสองวิธีนี้เป็นวิธีการที่ใช้ในการที่จะปราบปรามการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในประเทศจีน
ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เว็บไซต์ของ BBC1, BBC2, CNN, Yahoo News, Seattle Post-Intelligencer, The Age, Amazon.com, Amazon UK และ Yale University Press ที่มีบทความเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ และทักษิณ ต่างถูกบล็อกโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
การบล็อกเว็บไซต์ หรือแท้ที่จริงแล้วคือ การเซ็นเซอร์เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยปกติแล้วเป็นวิธีการที่รัฐบาลที่รู้สึกไม่มั่นคงจนต้องพยายามที่จะครอบงำและควบคุมประชาชนของตน โดยปกติการเซ็นเซอร์จะใช้กับความคิดเห็นที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นการต่อต้านและไม่เหมาะสมสมควร หรือก็อาจจะส่งผลต่อฐานอำนาจของตน ดังที่ใช้กันในประเทศพม่า หรือจีน หรือเกาหลีเหนือ หรือแม้แต่ในสหรัฐอเมริกา แต่ในรูปแบบของพระราชบัญญัติรักชาติ (PATRIOT Act) ประเทศไทยไม่ใช่พม่า หรือจีน หรือเกาหลีเหนือ (อย่างน้อยก็ในขณะนี้) บางทีคำพูดของอองซานซูจี ที่เคยกล่าวไว้น่าจะเหมาะสมที่สุดในการอธิบายสถานการณ์นี้
“เราไม่มีสิ่งใดที่ต้องกลัว เว้นแต่ตัวความกลัวเอง” (“We have nothing to fear but fear itself.”)
มีการประเมินแล้วว่ามีเว็บไซต์ในโลกมากกว่าสองพันล้านเว็บไซต์ ซึ่งในนี้มีเว็บไซต์ภาพลามกอย่างต่ำกว่าสิบล้านเว็บไซต์ แต่การที่จะบล็อกเว็บไซต์นับล้านนั้นอยู่ในความสามารถที่จะทำได้ของรัฐบาลไทยหรือ และค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลที่จะต้องใช้ในการนี้มันคุ้มค่าจริงๆหรือ หรือว่านี่เป็นแค่การสร้างกระแสเพื่อกลบเกลื่อนภาระซ่อนเร้นอันชั่วร้ายของรัฐบาลต่างหาก
การเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ตส่งผลกระทบต่อการศึกษาวิจัย การแข่งขันทางธุรกิจ เสรีภาพสื่อ และการศึกษาของแต่ละครอบครัว และยังรวมถึงสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานอื่นๆ
เราประเมินพบว่าอย่างน้อยร้อยละ 40 ของบัณฑิตไทยจะไม่สามารถพัฒนาความคิดได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่ ส่งผลกระทบต่อการทำวิทยานิพนธ์และรายงานทางวิชาการเพราะผลจากการบล็อกเว็บไซต์ นี่หมายความว่าบัณฑิตของไทยจะไม่สามารถที่จะไปแข่งขันกับบัณฑิตในต่างประเทศ
เราควรที่จะรับรู้ว่าประเทศของเรานั้น ห้องสมุดขาดแคลนเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในต่างจังหวัด สำหรับหลายคนนั้นอินเตอร์เน็ตเป็นหนทางเดียวสำหรับการค้นหาข้อมูลและข่าวสาร
อินเตอร์เน็ตในปัจจุบันเป็นที่เดียวที่ความเห็นต่างๆนั้นเท่าเทียวกัน เป็นกลาง และปราศจากผลประโยชน์เชิงธุรกิจ จึงเป็นการสมควรแล้วหรือที่จะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาตัดสินว่าความคิดเห็นไหนไม่สมควรเพื่อประโยชน์ของพวกเขา ดังนั้นทางเราจึงไม่เชื่อว่าอินเตอร์เน็ตนั้นสมควรที่จะถูกควบคุม ตรวจสอบ หรือถูกจัดการในทุกรูปแบบ
ทางกลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทยเป็นภาคีของกลุ่มสนับสนุนเสรีภาพบนอินเตอร์เน็ตของโลก (Global Internet Liberty Campaign (GILC) และได้รับแถลงการณ์สนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศมากกว่า 70 องค์กร ซึ่งรวมถึงมูลนิธิ Electronic Frontier Foundation (EFF) ที่เว็บไซต์ของมูลนิธิเองก็ถูกบล็อกโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขณะนี้โลกกำลังจับตามองประเทศไทยอยู่
การเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ตนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สมควร น่ารังเกียจ และผิดกฎหมายในประเทศไทยอันเป็นรัฐประชาธิปไตย
ติดต่อ
Supinya Klangnarong (<freemediafreepeople at gmail.com>) โทร 086-788-9322 (ภาษาไทย)
CJ Hinke (<facthai at gmail.com>), โทร 087-976-1880 (ภาษาอังกฤษ)